การบริหารสถานศึกษากับความสุขของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

ผู้แต่ง

  • นภารัตน์ โพธิสัตย์ -
  • สงวน อินทร์รักษ์

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษา, ความสุขของครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต1  2) ความสุขของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต1 และ 3)           การบริหารสถานศึกษากับความสุขของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 จำนวนทั้งสิ้น     59 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 2 คน ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ครู รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้นจำนวน 118 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา ตามแนวคิดของเซอจิโอวานนี (Sergiovanni) และความสุขในการทำงานตามแนวคิดการวัดความสุขด้วยตนเอง (HAPPINOMETER) ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  

           ผลการวิจัยพบว่า

  1. การบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือ การวางแผน และอยู่ในระดับมาก 6 ด้าน โดยเรียงลำดับจากค่ามัชฌิมเลขคณิตมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ การตัดสินใจ การจัดการองค์กร การประเมินผล การประสานงาน การมีอิทธิพล และการติดต่อสื่อสาร
  2. ความสุขของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ด้าน โดยเรียงลำดับจากค่ามัชฌิมเลขคณิตมากไปหาน้อย คือ จิตวิญญาณดี สังคมดี ครอบครัวดี ใฝ่รู้ดี และอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน โดยเรียงลำดับจากค่ามัชฌิมเลขคณิตมากไปหาน้อย คือ การงานดี น้ำใจดี ผ่อนคลายดี สุขภาพดี และ สุขภาพเงินดี
  3. การบริหารสถานศึกษากับความสุขของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ: หน้า 9-15.

เกียรติบัณฑิต สาระพัฒน์. (2557). พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนวัดสะแกงาม สำนักงานเขต

บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชไมพร ชคัตตรัยกุล. (2557). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนเอกชน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ธารินทร์ ระศร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา

มัธยมศึกษา เขต 21, วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร, การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

พวงเพ็ญ ชุณหปราณ. (2559). “ความสุขในการทำงาน”, วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

ฉบับพิเศษ: หน้า 36-45.

ยุกตนันท์ หวานฉ่ำ. (2555). การบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มลคลธัญบุรี.

วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2558). การจัดการและพฤติกรรมองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เอช.เอ็น. กรุ๊ป:

หน้า 16.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง

(HAPPINOMETER), ความสุข 9 มิติของ HAPPINOMETER. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล:

หน้า 31-33.

สลิลทิพ ชูชาติ. (2556). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2, วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อธิคุณ สินธนาปัญญา, อภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์, ราชันย์ บุญธิมา, และวีระ สุภากิจ. (2557). วารสารสุทธิปริทัศน์.

การบริหารความสุขในสถานศึกษา Happiness Management in School, ปีที่ 28 (ฉบับที่ 88). http://www.dpu.ac.th/dpurc/journal-read-33-260: [สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2562].

อนุพงศ์ รอดบุญปาน. (2561). องค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนอนุบาลกุยบุรี (วัดวังยาว), วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อภิชาต นิลภาทย์. (2556). ความสุขในการทำงานของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขต

บางพลัด, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

J. Manion. (2003). "Joy at Work: Creating a Positive Workplace." Journal of Nursing

Adiministration 33,12: p52-55.

John Helliwell. (2019). Summary of recent happiness research update2012, accessed Feb

, 2019 available from http://socialcapital.wordpress.com/2012/10/27

/summary-of-recent-happiness-research/.

M.Mcbride. (2010). “Relative-Income Effects on Subject Well-being in the Cross-Section”,

(Journal of Economic Behavior & Organization,2010): p251-278.

Thomas J. Sergiovanni. (1987). The principalship : a reflective pravtice perspective.

Boston: Allyn and Bacon: p9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30