การพัฒนาทักษะทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ประกอบการใช้เกมบิงโก (Bingo Game) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • ศิตรานุช ภูมิประกาย -
  • ธนาดล สมบูรณ์
  • วีระ วงศ์สรรค์

คำสำคัญ:

แบบฝึกทักษะ, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT, เกมบิงโก (Bingo Game)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ประกอบการใช้เกมบิงโก (Bingo Game) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ประกอบการใช้เกมบิงโก (Bingo Game) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาทักษะทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ประกอบการใช้เกมบิงโก (Bingo Game) กลุมตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร) จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 25 คน ได้มาโดยใช้วิธีสุมตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบฝึกทักษะการพัฒนาทักษะทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ (2) แผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) แบบฝึกทักษะทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.90/84.00 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ค่าดัชนีประสิทธิของแบบฝึกทักษะทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ มีค่าเท่ากับ 0.7585 แสดงว่าหลังการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคTGTสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ75.85 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มี ต่อการพัฒนาทักษะทาง การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การคูณ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน ด้านที่ นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านเนื้อหา และด้านการวัดและประเมินผล สำหรับด้านที่เหลืออยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.

กรุงเทพมหานคร : กระทรงศึกษาธิการ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. (2546). การจัดการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.

สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2549). “สมรรถนะครูและผู้บริหารการศึกษา”, วรสารการศึกษาไทย. (17) : 10-21กิตติ พัฒนตระกูลสุข. (2548). บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์, คณิตศาสตร์. 554 (48) : 1.พิทักษ์ อุดมชัย. (2552). หน้าที่ทางการบริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทิศนา แขมณี. (2554). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2554). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง.เชียงใหม่ : เชียงใหม่โรงพิมพแ์ สงศิลป์.

อังคณา ชัยมณี. (2540). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจโดยใช้การเรียน แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.

วิยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาประถมศึกษา, บัณวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ฟิลลิปส์, แปลโดย เตือนใจ เฉลิมกิจ. (2545). กิจกรรมภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ :

หน้าต่างสู่โลกกว้าง

ศิฬาวรรณ อินทะเสน. (2553). รายงานวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์เรื่องการคูณโดย ใช้ชุดฝึกทักษะและกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, คณะครุศาสตร์.

ไพลิน ลือสาร. (2553). ผลการใช้เกมคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกลบเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา).สืบค้นจาก https://is.gd/THByal

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด.

กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30