การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ เรื่อง ทักษะในการฝึกหัดทางนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
คำสำคัญ:
ทักษะในการฝึกหัดทางนาฏศิลป์ไทย, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT, การจัดการเรียนรู้แบบปกติบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ เรื่อง ทักษะในการฝึกหัดทางนาฏศิลป์ไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบร่วมมือเทคนิค TGT กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ เรื่อง ทักษะในการฝึกหัดทางนาฏศิลป์ไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT กับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (3) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติทางการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ เรื่อง ทักษะในการฝึกหัดทางนาฏศิลป์ไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT กับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง และแบบเชิงทดลอง ชนิดสุ่ม ประชากรประกอบด้วยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมารีวิทย์สัตหีบ จังหวัดชลบุรีจำนวน 5 ห้องเรียน จำนวนรวม 152 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบอย่างง่าย จำนวน 2 ห้องเรียน ให้เป็นกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน และกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน แต่ละห้องเรียนมีจำนวนนักเรียนห้องละ 30 คน มีจำนวนทั้งหมด 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ (2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ TGT (3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (4) แบบประเมินเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีเป็นอิสระจากกันแบบ Pooled Variance
ผลการวิจัยพบว่า (1) ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT มีความก้าวหน้าในการเรียนกว่ากลุ่มการจัดการเรียนรู้แบบปกติ คิดเป็นร้อยละ 67.62 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT สูงกว่านักเรียนที่ได้การจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) เจตคติทางการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT มีเจตคติที่ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กาญจนา อินทรสุนานนท์ และรุจี ศรีสมบัติ. (2552). รำวงมาตรฐาน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
จุฬาลักษณ์ กองพิลา. (2553). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ CIRC. วิทยานิพนธ์ กษ.ม. (การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นรา บูรณรัช. (2543). สถิติเพื่อการวิจัย 1. สงขลา: ศุภกาณน์พริ้นติ้งแอนด์เซอร์วิส.
มณีแสง เทศทิม. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบทีจีที (TGT) แบบจิ๊กซอว์ (JIGSAW) และแบบ สสวท. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (หลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วณิชย์ชยา โพชะเรือง. (2555). การพัฒนาศูนย์การเรียนนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. อัดสำเนา. วิทยานิพนธ์ กษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). บุรีรัมย์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ. (2557). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). กรุงเทพฯ : สถาบันฯ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อภิณห์พร แม้นวิเศษพงศ์. (2549). การพัฒนาชุดการสอน เรื่อง นาฏยศัพท์และภาษาท่านาฏศิลป์ โดยเน้นกระบวนการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. อัดสำเนา. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน). ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
Slavin. (1990). Cooperative Learning : Theory, Research and Practices. New Jersey : Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์