พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนร้อยกรองกาพย์ยานี 11 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ขวัญใจ เมฆสุวรรณ -
  • วีระ วงสรรค์ดร
  • รสรินทร์ อรอมรรัตน์

คำสำคัญ:

แบบฝึกเสริมทักษะ, ร้อยกรองกาพย์ยานี 11, การเรียนรู้แบบร่วมมือ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงกลุ่มทดลองมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ        การเขียนร้อยกรองกาพย์ยานี 11 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80      2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนร้อยกรองกาพย์ยานี 11 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจทางการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่องการเขียนร้อยกรองกาพย์ยานี 11 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างการเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  โรงเรียนวัดยานนาวา ได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่ายจำนวน 1 ห้องเรียน รวม 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1) แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนร้อยกรองกาพย์ยานี 11 (2) แผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ(4) แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนร้อยกรองกาพย์ยานี 11 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 84.06/83.62 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนร้อยกรองกาพย์ยานี 11 มีค่าเท่ากับ 0.7420 ซึ่งสามารถพัฒนาทางการเรียนรู้ (E.I.) คิดเป็นร้อยละ 74.20 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนร้อยกรองกาพย์ยานี 11 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ครุ

สภาลาดพร้าว.

กุศยา แสงเดช. (2555). แบบฝึก. กรุงเทพฯ : แม็ค

กำชัย ทองหล่อ. (2554). หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 53. กรุงเทพมหานคร: บริษัทรวมสาส์น (1997) จำกัด.

________. กรมวิชาการ. (2534). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้

แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กฤติกา เจริญยศ. (2552). การพัฒนา แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้

แบบฝึกทักษะด้านการอ่านและการ เขียนคำยาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.

ม. มหาสารคาม มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

ถวัลย์ มาศจรัส. (2555). นวัตกรรมการศึกษา ชุดแบบฝึกทักษะ. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ:

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรจง ชาครัตพงศ์. (2551). เคล็ดลับการแต่งคำประพันธ์ : โคลง ร่าย ฉันท์ กาพย์ กลอน. กรุงเทพ ฯ: นาม

มีบุ๊คส์บลิเคชี่นส์ จำกัด.

ปฤษณา แจ้มแจ้ง. (2554). การพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การ

สอนการแต่งคำประพันธ์ตามแนววัฏจักรการเรียนรู้วิทยานิพนธ์. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ประทีป แสงเปี่ยมสุข. (2554). แนวการสร้างแบบฝึก. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของสกสค.

ประหยัด แม่นสุข. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนร้อยกรอง (กาพย์ยานี 11) กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการ

พัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

พัชรี ครุฑเมือง. (2550). การพัฒนาความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทยโดยใช้หนังสือนิทาน

ร้อยกรอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านท่าแหน จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์

การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิชญา สกุลวิทย์. (2551). การพัฒนาทักษะการฟังการดูและการพูดภาษาไทยของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้

กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ.การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอน

ภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิมาน แจ่มจรัส. (2556). เขียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : แสงดาว.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30