การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยกระบวนการ KTS สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • อภิพัฒน์ หนูเทพย์ -
  • สุเทพ อ่วมเจริญ
  • รสรินทร์ อรอมรรัตน์

คำสำคัญ:

กระบวนการ KTS, สมการเชิงเส้นสองตัวแปร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ KTS กับเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 80 (2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังที่จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ KTS และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีการที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ KTS เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร

            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวนรวม 30 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ KTS (2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการ KTS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)

            ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ KTS มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.68 (2) ผลการเปรียบเทียบการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการ เรียนรู้ตามกระบวนการ KTS หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ KTS โดยภาพรวมเห็นด้วยในระดับมากที่สุด

References

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. [ออนไลน์].

เข้าถึงได้จาก https://www.tungsong.com/e_Library/data/curriculum/ curriculum1.pdf.

วันที่ค้นข้อมูล 1 กุมภาพันธ์ 2564.

กาญจนา วัฒายุ. (2548). การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ธนพรการพิมพ์.

ฐิติยา รักมิตร. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ปริมาณสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ KTS. สารนิพนธ์ ศษ.ม. (หลักสูตรและการ

สอน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์ และ Majumdar, B. (2544). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส

แอนด์กราฟฟิค.

พัชรี เรืองสวัสดิ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรีคติวิสต์ที่ส่งเสริม

ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์

มหาบัณฑิตวิทยาศาสตร์ (คณิตศาสตร์และคณิตศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พิจิตรา ธงพานิช. (2561). เอกสารคำสอนการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน. สาขาวิชาหลักสูตรและ

นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. นครปฐม: โรงพิมพ์

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

พิสณุ ฟองศรี. (2551). วิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: พรอพเพอร์ตี้พรินท์.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 7. นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริวรรณ วตะภรณ์. (2562). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาเคมี KTS Teaching and learning process

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่

สมนึก ภัททิยธนี. (2555). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2546). แนวทางการประเมินผลด้วยทางเลือกใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา

ลาดพร้าว

สุนีย์ คล้ายนิล. (2547). คณิตศาสตร์สำหรับโลกวันพรุ่งนี้. วารสารการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และ

เทคโนโลยี. 32(131), 12 – 22.

สุวิทย์ มูลคำ. (2542). วิธีการจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30