การบริหารงานบุคคลตามหลักขันติธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

ผู้แต่ง

  • ปวีณา รอบแคว้น -
  • พระครูกิตติญาณวิสิฐ
  • พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์

คำสำคัญ:

การบริหารงานบุคคล, ตามหลักขันติธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา คุณลักษณะด้านขันติในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา  2) เพื่อศึกษาวิธีพัฒนาคุณลักษณะด้านขันติเพื่อการบริหารงานบุคคลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อเสนอวิธีการบริหารงานบุคคลตามหลักขันติธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธี ใช้กลุ่มตัวอย่างผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู จำนวน 313 คน วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.990 และสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 ท่าน

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา คุณลักษณะด้านขันติในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายด้าน มีด้านวินัยและการรักษาวินัยอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่เหลือทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ด้านการออกจากราชการ ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง และด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ตามลำดับความสำคัญของสภาพปัญหา
  2. ผลการศึกษาวิธีพัฒนาคุณลักษณะด้านขันติเพื่อการบริหารงานบุคคลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ดังนี้ 1) ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ผู้บริหารต้องใช้ความอดทนในการจัดการสภาพปัญหาความขาดแคลนที่เกิดขึ้น บริหารจัดการกำลังคนในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2) ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ผู้บริหารต้องพยายามคัดสรรคนที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของสถานศึกษาให้มากที่สุด 3) ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ผู้บริหารต้องมีความอดทนที่จะคอยแนะนำให้คำปรึกษาแก่บุคลากร 4) ด้านวินัยและการรักษาวินัย ผู้บริหารต้องพยายามศึกษาคู่มือ ตักเตือนบุคลากรให้ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ และดำเนินการทางวินัยอย่างโปร่งใสและยุติธรรมกับทุกฝ่าย 5) ด้านการออกจากราชการ ผู้บริหารต้องเป็นผู้มีความรู้ ดูแลให้คำปรึกษาแก่บุคลากรที่ถูกดำเนินการให้ออกจากราชการได้
  3. 3. การบริหารงานบุคคลตามหลักขันติธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา มีวิธีการดังนี้ 1) ด้านความอดทนต่อความยากลำบาก ผู้บริหารต้องอดกลั้นต่อชีวิต ความยากลำบากต่อกายและจิตใจ รวมถึงถูกตำหนิติเตียนจากภายในองค์กร 2) ด้านความอดทนต่อความตรากตรำ ผู้บริหารต้อง มีการอดทนต่อสู้ในการพัฒนางานให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และ 3) ด้านความอดทนต่อความเจ็บใจ ผู้บริหารต้องใช้สติสัมปชัญญะ รู้จักการระงับอารมณ์ที่มากระทบจากบุคลากรทั้งภายในและนอกองค์กรที่มาตำหนิหรือกล่าวหาว่าร้ายได้อย่างมีหลักขันติธรรม

References

กระทรวงศึกษาธิการ อ้างใน ฐิติยา ปทุมราษฎร์ และ จิณณวัตร ปะโคทัง, “สภาพและปัญหาการบริหารงาน

บุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต

”, วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2557): 18.

กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1, “แผนพัฒนาการศึกษาขั้น

พื้นฐาน พ.ศ. 2563 – 2565”, เอกสารราชการ, (กลุ่มนโยบายและแผน: สำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1, 2563). (เอกสารคัดสำเนา).

ณัฐนิช ศรีลาคำ, “การบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

กาญจนบุรี เขต 1”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

กาญจนบุรี, 2558), หน้า 10.

พระเส็ง ปภสฺสโร (วงษ์พันธุ์เสือ), "การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1", วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

.

พระอดิศักดิ์ สารโท (เตือนสันเทียะ), "การบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนประถมศึกษา

อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา", วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ

บริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556).

วิภาดา สารัมย์, "การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี",

วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย:

มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี, 2562).

พระครูสุชาติกาญจนวงศ์ (ชานนท์ จาครโต/ผิวแดง), "การประยุกต์หลักขันติธรรมเพื่อการเสริมสร้างสังคม

สันติ", สารนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย:

มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย, 2557).

พงศ์พัชรา สัมพันธรัตน์ และ พระมหาทวี มหาปญฺโญ, “ขันติธรรม : หลักปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ในอาเซียน”, มจร. พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2561): 147.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต), หลักขันติธรรม, [ออนไลน์], แหล่งที่มา

https://sites.google.com/site/krukarn17825/kar-darng-chiwit-xyang-mi-khwam-sukh-

ni-prathes-laea-sangkhm-lok/hlak-khanti-thrrm [3 มิถุนายน 2564].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30