แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ ตามหลักไตรสิกขาของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ลัดดา สุขกุดี -
  • พระครูภัทรธรรมคุณ

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน, ผ่านระบบออนไล, หลักไตรสิกขา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ตามหลักไตรสิกขาของครู 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนานวัตกรรมสำหรับการสอนผ่านระบบออนไลน์ตามหลักไตรสิกขาของครู และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ตามหลักไตรสิกขาของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ตามหลักไตรสิกขาของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมและทุกด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อย
  2. กระบวนการพัฒนานวัตกรรมสำหรับการสอนผ่านระบบออนไลน์ตามหลักไตรสิกขาของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา มีผลดังนี้ 1) ด้านหลักสูตร โรงเรียนควรนำหลักไตรสิกขามาพัฒนาครู ให้ได้รับหลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักไตรสิกขา ผ่านระบบออนไลน์ของครู 2) ด้านการสอน โรงเรียนควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาการเรียนการสอนของครูตามหลักไตรสิกขา คือ การพัฒนาอบรมสภาพทางกายภาพ (สีลสิกขา) การควบคุมพัฒนาจิตผู้เรียนให้อยู่ในจุดใดจุดหนึ่ง (สมาธิสิกขา) การพัฒนาปัญญาอย่างเต็มตามศักยภาพ (ปัญญาสิกขา) 3) ด้านสื่อการเรียนรู้ โรงเรียนควรสร้างมุมมองเป็นองค์รวมของการศึกษาพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการใหม่ๆ ที่เรียกว่า “นวัตกรรม (Innovation)” และ 4) ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนควรตรวจสอบคุณภาพของกระบวนการสอนผ่านระบบออนไลน์ของครูว่า ได้บรรลุตามเป้าหมายของการพัฒนาตามหลักไตรสิกขา (ลีลสิกขา) คือ การพัฒนากาย วาจาอยู่ในสภาพเรียบร้อย (จิตตสิกขา) คือ การฝึกอบรมจิต เพื่อเข้าสู่กระบวนการพัฒนาปัญญา (ปัญญาสิกขา) คือ การพัฒนากระบวนการของปัญญา 3 อย่าง การฟังเนื้อหารายวิชา (สุตมยปัญญา) การพิจารณาไตรตรองการสอนออนไลน์ (จินตามยปัญญา) และความรู้อันเกิดจากฝึกฝนหรือลงมือปฏิบัติ (ภาวนามยปัญญา)
  3. แนวทางการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ตามหลักไตรสิกขาของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ 1) ด้านหลักสูตร ครูควรนำกระบวนการของไตรสิกขา มาพัฒนาเนื้อหาสาระของหลักสูตรให้เข้ากับหลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมาย สื่อการเรียนรู้ผ่านออนไลน์ของครู 2) ด้านการสอน ครูควรจัดกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะการสอนตามหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (สีลสิกขา) การควบคุมพัฒนาจิตให้ในจุดใดจุดหนึ่ง (สมาธิสิกขา) การพัฒนาปัญญาอย่างเต็มตามศักยภาพ (ปัญญาสิกขา) ผู้สอนต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลหรือระดับของสติปัญญาด้วย 3) ด้านสื่อการสอน ครูควรสร้างมุมมองเป็นองค์รวมของการศึกษาอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการใหม่ ๆ ผ่านระบบออนไลน์ และ 4) ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ คือ โรงเรียนควรตรวจสอบคุณภาพครูผู้สอนอย่างเป็นระบบ

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง, 2554.

ทิศนา แขมณี. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์, 2560.

นิพนธ์ ศุขปรีดี. นวัตกรรมเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: นีลนาราการพิมพ์. 2546.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต), พุทธธรรม (ฉบับเดิม). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก, 2544.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค, 2560.

สุนันทา สุนทรประเสริฐ. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์, 2543.

วิชุดา รัตนเพียร. “การเรียนการสอนผ่านเว็บ: ทางเลือกใหม่ของเทคโนโลยีการศึกษาไทย”. วารสารครุศาสตร์. ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 (มีนาคม 2542):

กระทรวงศึกษาธิการ. 12 นโยบายการจัดการศึกษา 7 วาระเร่งด่วน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://moe360.blog [12 มิถุนายน 2564].

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. ความหมายของ นวัตกรรม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.innovationforkm. weebly.com. [13 มิถุนายน 2564].

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. ความหมายของ นวัตกรรม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.innovationforkm. weebly.com. [13 มิถุนายน 2564].

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.nia.or.thwww. innovationforkm. weebly.com. [13 มิถุนายน 2564].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30