การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเคลื่อนไหว ในรายวิชานาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรม, ความสามารถในการเคลื่อนไหวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายในรายวิชานาฏศิลป์ไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเคลื่อนไหวของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายในรายวิชานาฏศิลป์ไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนช่างอากาศอำรุง จังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่กำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 33 คน ซึ่งผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเคลื่อนไหวในรายวิชานาฏศิลป์ไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2) แบบประเมินความสามารถเรื่องการเคลื่อนไหวในรายวิชานาฏศิลป์ไทย 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ประมวลผลและวิเคราะห์สรุปผล อภิปรายโดยใช้ตารางและการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย ในรายวิชานาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ ( E1 /E2 ) เท่ากับ 77.73/78.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีความสามารถในการเคลื่อนไหว หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเคลื่อนไหวในรายวิชานาฏศิลป์ไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย. ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพมหานคร:
สถาบัน.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย. ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพมหานคร:
สถาบัน.
ธีราภรณ์ ชูชื่นและศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2558). ได้ศึกษาการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องนาฏศิลป์
สร้างสรรค์ ไทย-พม่าสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร,8(1),
-249.
ประเสริฐ สำเภารอด. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมเรื่องระบบนิเวศในโรงเรียน สำหรับนักเรียนระดับ
มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเซนต์ดอมินิก. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ไพวัน เพริดพราว. (2559). การเคลื่อนไหวเบื้องต้น.คณะศึกษาศาสตร์. สถาบันพลศึกษา. อุดรธานี: วิทยาเขต
อุดรธานี
ภารดี ภูมิมหาศาล. (2553). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สําหรับนักเรียนชมรมนาฏศิลป์โดยใช้เทคนิคบัลเลต์
ประกอบเพลงพื้นบ้านอีสาน.ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.
มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มัทนี รัตนิน. (2554). ศิลปะการแสดงละคอน (Acting) : หลักเบื้องต้นและการฝึกซ้อม.(พิมพ์ครั้งที่ 1).
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิไลวรรณ ไชยลังการ และศิริวัฒน์ ขำเกิด. (2561).การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้สาระ นาฏศิลป์เรื่องรำวง
มาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์.
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 20(2), 75-76.
สุธีระ เดชคำภู. (2560). การพัฒนาทักษะการปฏิบัติเปียโนและคีย์บอร์ดโดยใช้ชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น.วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและ การสอน.
กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
หยาดพิรุณ พวงสุวรรณ์. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ทักษะ
พื้นฐานและการฝึกหัดการแสดงนาฏศิลป์ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม.
(หลักสูตรและการสอน). จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
อาคม สาอาคม.(2545). รวมงานนิพนธ์ของ นายอาคม สายาคม ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ กรมศิลปากร. (พิมพ์ครั้ง
ที่ 2). กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.
Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. 3rd ed. New York : McGraw – Hill Book Inc.
Simpson(1972). D. thaching physical education : A system approach. Houghton Mufflin Co :
Boston
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์