ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมของผู้บริหารกับการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราในอำเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมของผู้บริหารกับการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนที่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราในอำเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา (2)เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมของผู้บริหารกับการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ประชากรคือครูผู้สอนของโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 444 คน เครื่องมือคือแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ (5-Levels Rating Scale) สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product-Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นของครูผู้ตอบแบบสอบถามของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราในอำเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทราต่อจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ระดับความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารของโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราในอำเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารของโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราในอำเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทราอยู่ในระดับสูงทางบวกที่ระดับนัยสำคัญ .01
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). ข้อเสนอยุทธศาตร์การปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:กระทรวงศึกษาธิการ
กรมสามัญศึกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และการวิเคราะห์สาระสำคัญ.
กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.
ฉวีวรรณ เจริญลาภ. (2547). ความคิดเห็นของครูและผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารโรงเรียนใน เขตเทศบาล
ตำบลไพศาลีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา
บัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธีระ รุญเจริญ. (2546ก).การบริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
เปรม ติณสูลานนท์. (2558). จริยธรรมของการบริหารภาครัฐ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ปถกถา
กรากฎาคม 2558.
พระเทพเวที. (ประยุทธ์ ปยุตโต).(2533). การพัฒนาจริยธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระเมธีธรรมาภรณ์. (ประยูร ธัมมจิตโต). (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรม จริยศาสตร์ และจริยศึกษา.
กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระราชวรมุนี. (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2528). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหา
จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และ
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. http://krukob.com/web/1-97 (Online) 6/10/63
พระราชบญัญติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, 2542
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพค์รั้งที่ 7) กรุงเทพมหานคร:
สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สามัญศึกษา, กรม. (2528). คู่มือปฏิบัติงานสำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา
ลาดพร้าว.
อมรา เล็กเริงสินธุ์. (2542). คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์