ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8

ผู้แต่ง

  • กิตติพงค์ ทาปง -
  • สงวน อินทร์รักษ์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม, ความผูกพัน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 2) ความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียน 3) ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จำนวน 41 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 5 คน ประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คนและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 1 คน ฝ่ายปฏิบัติการ ได้แก่ ครู 3 คน รวมทั้งสิ้น 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดของมิทเชลล์และความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียนตามแนวคิดของอัลเลนและเมเยอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

References

ธาดา รัชชากิต, "ก้าวสู่การเป็นผู้นำที่ดี อย่างที่ทุกองค์กรต้องการ," เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2563, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, รายงานผลการศึกษาการพัฒนามาตรฐานการศึกษาของต่างประเทศ พิมพ์ครั้งที่ 1 (กรุงเทพฯ: 21 เซนจูรี่ จำกัด, 2559), 1.

ไอเดีย,ไอเดีย, “15 สุดยอดผู้นำจากทั่วโลก ที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คน มาหลายยุคหลายสมัย,”สราวุธ นาแรมงาม, ผู้นำกับการขับเคลื่อนนโยบายประเทศไทย 4.0 พิมพ์ครั้งที่ 1 (นนทบุรี: สำนักงาน ก.พ., ก.พ. 2562), 92)

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579, พิมพ์ครั้งที่ 1 (กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค, 2560), 131-139

Rebert V. Krejcie and Daryle W. Morgan, “Determing Sample Size for Research Activities,”

Journal for Education and Psychological Measurement 3 (November 1970): 608.

Rensis Likert, New Pattern of Management (New York: Mcgraw-Hill, 1961), 74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30