ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการถ่ายโอนความรู้จากการฝึกอบรมของพยาบาลวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • สุภาณี เขียวสม -
  • อรนุช พฤฒิพิบูลธรรม

คำสำคัญ:

การฝึกอบรม, การถ่ายโอนความรู้จากการฝึกอบรม, ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับการถ่ายโอนความรู้จากการฝึกอบรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการถ่ายโอนความรู้จากการฝึกอบรมของพยาบาลวิชาชีพ
2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการถ่ายโอนความรู้จากการฝึกอบรมของพยาบาลวิชาชีพ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะของผู้เข้าฝึกอบรม ปัจจัยแรงจูงใจ ปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงานและปัจจัยความสามารถกับการถ่ายโอนความรู้จากการฝึกอบรมของพยาบาลวิชาชีพ 4) เพื่อสร้างสมการทำนายการถ่ายโอนความรู้จากการฝึกอบรมของพยาบาลวิชาชีพจากปัจจัยคุณลักษณะของผู้เข้าฝึกอบรม ปัจจัยแรงจูงใจ ปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงาน และปัจจัยความสามารถ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้เป็นพยาบาลวิชาชีพสังกัดฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 2,022 คน เริ่มต้นการวิจัยเชิงปริมาณโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างและใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 330 คน เป็นพยาบาลวิชาชีพที่เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม ระยะเวลาตั้งแต่ 4-15 วัน ซึ่งจัดโดยงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมมีระดับการถ่ายโอนความรู้จากการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการใช้ความรู้ในการทำงานสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการใช้ทักษะในการทำงาน และด้านการมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน ตามลำดับ นอกจากนี้การถ่ายโอนความรู้จากการฝึกอบรมโดยรวมของพยาบาลวิชาชีพมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 กับตัวแปรปัจจัยคุณลักษณะของผู้เข้าฝึกอบรม ปัจจัยแรงจูงใจ ปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงาน และปัจจัยความสามารถ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Multiple Regression Analysis: Stepwise) เมื่อสร้างสมการทำนายการถ่ายโอนความรู้ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลมี 3 ปัจจัย  คือ ปัจจัยคุณลักษณะของผู้เข้าฝึกอบรม ปัจจัยแรงจูงใจ และปัจจัยความสามารถ โดยทั้งสามปัจจัยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 67 (Adjusted R2 = 0.67)     อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2561). ความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน(ฉบับย่อ): ASEAN

CONNECTIVITY. (ฉบับย่อ): ASEAN CONNECTIVITY. ค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2561,

จาก http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/customize-20121218-094305-241038.pdf

ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณฐวรรณ เมธรุจภานนท์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการถ่ายโอนการเรียนรู้ ภายหลังการฝึกอบรม หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพยาบาล) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ค้นเมื่อ

กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://tcithaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/39415/32609

ดารารัตน์ ศรีธรรมพินิจ. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกอบรมใน

หลักสูตรระยะยาวของพยาบาลโรงพยาบาลศิริราช. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารการพยาบาล) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธวัช ธนสมบูรณ์. (2556). การถ่ายโอนความรู้จากการฝึกอบรมจากชั้นเรียนสู่สถานประกอบการ: กรณีศึกษามูลนิธิสถาบันการพูดแบบฑูต. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2561 จาก

http://www.repository.rmutt.ac.th/bitstream/handle/123456789/2027/139292.pdf?sequence=1

นภาวรรณ จ้อยชารัตน์. (2558). การจัดการฝึกอบรมและแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์ต่อการถ่ายโอนความรู้จากการฝึกอบรม: กรณีศึกษา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ค้นเมื่อ 11 มกราคม 2561. จาก https//goo.gl/CLDicZ

นิสดารก์ เวชยานนท์. (2559). การประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรม: กรณีศึกษาหลักสูตร

การพัฒนาผู้บริหารระดับกลางของการประปานครหลวง. ค้นเมื่อ 6 มกราคม 2561.

จาก https://goo.gl/wBMMWW

เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2554). เทคนิคการจัดฝึกอบรมและการจัดฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: ดวงกมลพับลิชชิ่ง.

ยุวดี ศิริยทรัพย์. (2560). การวางแผนทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

เรมวล นันท์ศุภวัฒน์, อารีวรรณ กลั่นกลิ่น, วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ, นุศร จิตวิชา และมัลลิกา อุดมสิน.(2558). บทเรียนจากการถ่ายโอนความรู้ภายหลังการฝึกอบรมเฉพาะทางของศูนย์บริการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ค้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2561. จาก https://goo.gl/AWRCoS

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) (2561). ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 -2579). ค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2561, จากhttp://www.nesdb.go.th/article_attach/article_file_20170106131224.pdf

Abed, H., Mansur, M., and Saleh, A., B. (2015). Effect of Organizational Culture and Business

Climate Within the Work Environment on Transfer of Training from the Perspective of

Workers in Palestinian Government Hospitals. Retrieved March, 20, 2018, from

http://journals.ekb.eg/article_17598_da77a916a459ae7b5dda71feb663488c.pdf

Baldwin, T., & Ford, K. J. (1988). Transfer of Training: A Review and Directions for Future

Research. Retrieved May, 12, 2018, from

https://www.researchgate.net/publication/209409925

Bates, R., Holton III, E., F., and Hatala, J., P. (2012). A revised learning transfer system

inventory: factorial replication and validation. Retrieved July, 5, 2018, from

http://eds.b.ebscohost.com/eds/pdfviewer/pdfviewer?vid=1&sid=adbc0797- a21a-

a96-9916-ff1cf1c2e435%40pdc-v-sessmgr01

Bernardin, H. (2010). Human resource management: An experiential approach (5th ed.). Boston,

Mass.; London: McGraw-Hill.

Eid, A., & Quinn, D. (2017). Factors predicting training transfer in health professionals participating in quality improvement educational interventions. Peer Reviewed Journal. Retrieved June, 2, 2018, from https://bmcmededuc.biomedcentral.com/track/pdf/10.1186/s12909-017-08667

Holton, E. F. (1996). The flawed four-level evaluation model. Human Resource Development Quarterly, 7(1), 5-21.

Holton, E. F., Bates, R. A., & Ruona, W. E. A. (2000). Development of Generalized Learning

Transfer System Inventory.

Hutchins, H. M. (2009). In the trainers voice: A study of training transfer practices Performance Improvement Quarterly.

Ignatavicius, D., & Chung, C. E. (2016). Professional development for nursing faculty: Assessing

transfer of learning into practice, Teaching and Learning in Nursing, 11(4), 138-142.

Retrieved July, 25, 2018, from doi:10.1016/j.teln.2016.05.005

Ma, F., Bai, Y., Bai, Y., Ma, W., Yang, X., & Li, J. (2018). Factors influencing training transfer in nursing profession: a qualitative study. BMC Med Education, 18(1), 44. Retrieved

May, 19, 2018, from doi:10.1186/s12909-018-1149-7

Tannenbaum, S., & Yuki, G. (1992). Training and Development in work organization. Annual review of Psychology.

Wexley, K. N. & Latham, G. P. (2002). Developing and Training Human Resources in Organizations (Prentice Hall Series in Human Resources), 3rd Edition.

Retrieved May, 1, 2018, from http://eds.b.ebscohost.com/eds/pdfviewer/pdfviewer?vid=1&sid=7a54f6db-8b71-4b98-aff1-a0d976d9dfe8%40sessionmgr103

Wijk, R. V., Jansen, J. J., & Lyles, M. A. (2008). Inter-and intra-organizational knowledge transfer: A meta-analytic review and assessment of its antecedents and consequences. Retrieved July, 22, 2018, from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/epdf/10.1111/j.1467-6486.2008.00771.x

Yamnil, S. (2001). Factors affecting transfer of Thailand, (Doctoral dissertation). Retrieved

July, 2, 2017, from http://library1.nida.ac.th/dai0/3032020.PDF

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30