แนวคิดการรำไทยจากบทเรียนเพลงช้าเพลงเร็ว

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี โพธิเวชกุล -
  • สวภา เวชสุรักษ์

คำสำคัญ:

แนวคิดการรำไทย, เพลงช้าเพลงเร็ว, บทเรียนเริ่มต้นนาฏยศิลปิน

บทคัดย่อ

เพลงช้าเพลงเร็วเป็นแบบฝึกหัดรำไทยขนาดยาวสำหรับการเริ่มต้นฝึกเป็นนาฏยศิลปินไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบันซึ่งแฝงองค์ความรู้เกี่ยวกับการรำไทยไว้อย่างอัศจรรย์ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการรำไทยจากการรำเพลงช้าเพลงเร็วซึ่งเป็นการรำเข้ากับทำนองเพลงที่มีจังหวะช้า (เพลง 2 ชั้น) ต่อด้วยการรำกับทำนองเพลงที่มีจังหวะเร็วขึ้น (เพลงชั้นเดียว) จากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์และการปฏิบัติการรำ พบว่า การฝึกรำเพลงช้าเพลงเร็วหรือ “รำเพลง” เข้ากับทำนอง “เพลงสร้อยสน” ในเพลงช้าและ “เพลงแม่วอนลูก”ในเพลงเร็วนั้นได้แสดงแนวคิดการรำในเชิงไวยากรณ์หรือหลักการรำไทยตั้งแต่เริ่มต้นจากท่าทางองคาพยพของร่างกายผู้รำ 8 ส่วนได้แก่ ศีรษะ ลำตัว ไหล่ แขน มือ นิ้วมือ ขาและเท้า นำมาผสมกันเป็นท่ารำ ท่าทางดังกล่าวแบ่งออกเป็น 5 แบบ ได้แก่ แบบมือที่ใช้ในการรำไทย แบบท่าลำตัว  แบบท่าศีรษะและไหล่  แบบท่าแขน มือและนิ้วมือและแบบท่าขาและเท้า ท่ารำไทยที่เกิดขึ้นแสดงโครงสร้างท่ารำสำคัญ 2 ลักษณะ คือ โครงร่างหลักเพื่อวิเคราะห์ลักษณะแขนและมือ กับโครงสร้างรองเพื่อวิเคราะห์ลักษณะของขาและเท้า ที่สำคัญคือการร้อยเรียงท่ารำที่เกิดขึ้นให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงด้วยวิธีการเชื่อมท่ารำ 2 แบบ คือ วิธีการเชื่อมท่ารำเริ่มต้นไปสู่ท่ารำใหม่ และวิธีการเชื่อมท่ารำไปสู่ท่าเป้าหมายซึ่งมักเป็นท่ารำที่เคลื่อนที่ไปด้านหน้า ด้านหลังหรือเป็นวงในเพลงช้าและการทำซ้ำกระบวนรำท่าคู่ในเพลงเร็ว แนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือสร้างสรรค์การแสดงชุดใหม่ ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเสมอมาจนถึงปัจจุบัน

References

กรมศิลปากร. (2541). นาฏยศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์

กรมศิลปากร.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2546). ละครฟ้อนรำ. กรุงเทพฯ: มติชน.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2516). ศิลปะละครรำหรือคู่มือนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ในงานฉลอง

พระชนมายุครบ 6 รอบของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร 29 เมษายน

พิทยลาภพฤฒิยากร, พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น, (2507). ประวัติท้าววรจันทร์. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์ของสมาคมสังคมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554.กรุงเทพฯ:

ราชบัณฑิตยสถาน.

วิทยาลัยนาฏศิลป. (2526). คุณานุสรณ์ในการเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพนางลมุล

ยมะคุปต์. กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์.

วีระชัย มีบ่อทรัพย์. (ม.ป.ป.). หลักและวิธีการสอนโขน(พระ)เบื้องต้น เพลงช้าเพลงเร็ว. กรุงเทพฯ:

วิทยาลัยนาฏศิลปะสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม.

สุภาวดี โพธิเวชกุล. (2552). การแก้ไขท่าทางในการปฏิบัติท่ารำให้ได้มาตรฐานนาฏศิลป์ไทยแบบ

หลวง. กรุงเทพฯ : คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30