การจัดกิจกรรมเสริมสร้างสติผู้ปฏิบัติธรรมสำหรับคฤหัสถ์ในสำนักปฏิบัติธรรม จังหวัดกาญจนบุรียุคฐานวิถีชีวิตใหม่

ผู้แต่ง

  • มณีบุษย์ษบัน ศิริอรรถ -
  • พระครูวิรุฬห์สุตคุณ
  • บุญเชิด ชำนิศาสตร์

คำสำคัญ:

กิจกรรมเสริมสร้างสติผู้ปฏิบัติธรรม, ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสติสำหรับคฤหัสถ์ ในสำนักปฏิบัติธรรมจังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อศึกษาวิธีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสติปัฏฐาน 4 ผู้ปฏิบัติธรรมสำหรับคฤหัสถ์ในสำนักปฏิบัติธรรม จังหวัดกาญจนบุรี ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสติผู้ปฏิบัติธรรมสำหรับคฤหัสถ์ ในสำนักปฏิบัติธรรม จังหวัดกาญจนบุรี ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณและงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้ประชากรที่ไปปฏิบัติธรรมที่วัดหรือสำนักปฏิบัติธรรมในเขตจังหวัดกาญจนบุรี 10 แห่ง จำนวน 150 คน ใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมภาษณ์พระวิปัสสนาจารย์จำนวน 5 รูป เพื่อนำผลจากการสัมภาษณ์มาสนับสนุนงานวิจัยเชิงปริมาณ

ผลการวิจัย

  1. ผู้มาปฏิบัติธรรมมีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสติสำหรับคฤหัสถ์ในสำนักปฏิบัติธรรม จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านครูผู้สอน ด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรม ด้านสื่ออุปกรณ์ และด้านวัดและประเมินผล ตามลำดับ
  2. ผลการศึกษาวิธีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสติปัฏฐาน 4 คือ ด้านครูผู้สอนควรมีความรู้ในเรื่องสติปัฏฐาน 4 และมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติได้อย่างดี ด้านเนื้อหาเน้นให้ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าใจได้ง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติได้เองและเข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบัน ด้านสื่ออุปกรณ์ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงสื่อได้ทุกที่เน้นสื่อออนไลน์ที่สามารถใช้ได้กับทุกสถานปฏิบัติ ด้านกิจกรรมประยุกต์กิจกรรมสำหรับฆราวาสให้สอดคล้องกับแนวสติปัฏฐาน 4  ด้านการประเมินผลควรมีการสอนจากครูผู้สอนอย่างต่อเนื่องเพื่อดูว่าการสอนและการเรียนสอดคล้องกันและมีอะไรที่ต้องแก้ไขปรับปรุงบ้าง

3. เสนอแนวทางการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสติผู้ปฏิบัติธรรมสำหรับคฤหัสถ์ ในสำนักปฏิบัติธรรม จังหวัดกาญจนบุรี ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่  การเพิ่มจำนวนพระ วิปัสสนาจารย์ให้มีความรู้ในการสอนโดยใช้หลักสติปัฏฐาน 4 และให้มีการร่วมมือกับสถานปฏิบัติธรรมใกล้เคียง หรือเปิดการอบรมการใช้เทคโนโลยีและแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนการ สอนมาประยุกต์ใช้พร้อมทั้งปรับปรุงเนื้อหาและกิจกรรมให้เข้ากับสถานการณ์โควิด-19 ในการจัดกิจกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เข้าปฏิบัติ และเพื่อเป็นแนวทางแก่ครูผู้สอนหรือพระวิปัสสนาจารย์ที่ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือฆราวาสให้มีความพร้อมในการจัดกิจกรรมตามหลักคำสอนขององค์พระศาสดาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่

References

ทิศนา แขมณี. รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย, 2548.

ทิศนา แขมณี. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.

พระไตรปิฎก เล่มที่ 10 พระสุตตันตปิฎก. เล่มที่ 2 ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร. [ออนไลน์],

พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). พระธรรมปิฎก พุทธธรรม (ฉบับเดิม). พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร:

สำนักพิมพ์ธรรมสภา, 2545.

พระพุทธโฆสเถระ. วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 6.

กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส. 2548.

พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรังสี). สิ้นโลกเหลือธรรม (นัยที่สอง). กรุงเทพฯ: ธรรมดา,

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). มหาสติปัฏฐานสูตรทางสู่พระนิพพาน. แปลและเรียบเรียงโดย พระคันธสาราภิวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ไทยรายวันการพิมพ์, 2549.

มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

_________. “วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย”. ปีที่ 23 ฉบับที่ 3, ปี 2558.

อ.ดร. วราภรณ์ ศรีวิโรจน์. “หลักการจัดการเรียนรู้” เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 1022230.

คณะคุรุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

การฝึกสติ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.thaigoodview.com/library/studentshow [1 พฤศจิกายน 2563].

กรุงเทพธุรกิจ. (27 พ.ค. 2563). “New Normal คืออะไร” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.

bangkokbiznews.com/news/detail/882508 [5 กรกฎาคม 2564].สติ (2 กันยายน 2563).

“ความหมายของสติ”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org /wiki/สติ

พฤศจิกายน 2563].

นางสาวชญานุช เรืองจันทร์. พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.nsm.or.th/other- service/669-online-science/knowledge- inventory /sci-vocabulary/sci-vocabulary-science-museum/4557-new-normal.html [23 ก.พ. 2564]

ปัญจรีย์ จุลไกรอานิสงส์, พระมหาหรรษา ธมฺมหาโสและพูนสุข มาศรังสรรค์. การประยุกต์ใช้สติเพื่อ

พัฒนาการทำงานอย่างมีสันติสุขของแรงงานฝ่ายผลิต: ศึกษากรณีห้างหุ้นส่วนจำกัดคอนติเนนตัลนิตติ้ง [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ journal-peace/article/view/115504 [28 กรกฎาคม 2564].

พานทิพย์ แสงประเสริฐ. ผลของการฝึกสติต่อพฤติกรรมสุขภาพและคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis [1 สิงหาคม 2563].

แม่ชีกุลภรณ์ แก้ววิสัย. การปรับพฤติกรรมของสตรีผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในสังคมไทยยุคปัจจุบัน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.tci- thaijo.org/index.php/journalpeace /article/download/76616/61557 [1 พฤศจิกายน 2563].

วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. ปีที่ 16. ฉบับที่ 2. (2020). (เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2563) [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/issue/view/16377 [28 กรกฎาคม 2564].

วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 5. ฉบับที่ 2. (2562). (กรกฎาคม –ธันวาคม). [ออนไลน์].แหล่งที่มา:https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/issue/view/14699/ [30 กรกฎาคม 2564].

วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต วิปัสสนา. (4 ก.ย. 2557). คุณประโยชน์ของสติ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://m.facebook.com/permalink.php?story [1 พฤศจิกายน 2563].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30