แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ ของครูโรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ 1” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

ผู้แต่ง

  • กัลย์พัตร์ เสรีชัย -
  • เกษม แสงนนท์
  • สุรชัย สุรชโย

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ของครูโรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ 1” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาการใช้ระบบการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ของครูโรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ 1” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ ของครูโรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ 1” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ประชากรคือครู 105 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้บริหาร 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาเอกสาร

 

 ผลการวิจัยพบว่า

 

  1. สภาพการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ โดยภาพรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ครูมีและใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตที่บ้านได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ ครูมีและใช้อุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์สะดวกและมีประสิทธิภาพ ครูมีความรู้ ทักษะการออกแบบ และจัดสร้างโครงสร้างรายวิชาตามแผนการจัดการเรียนรู้บทเรียนออนไลน์ได้ ครูมีความรู้และทักษะการประเมินผลผู้เรียนรายวิชาตามแผนการจัดการเรียนรู้บทเรียนออนไลน์ได้ และนักเรียนมีและใช้อินเทอร์เน็ตสะดวกและมีประสิทธิภาพ ตามลำดับ
  2. การใช้ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ โดยโรงเรียนได้ติดตั้งสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่มีความเสถียร มีการพัฒนาระบบ Racha1-online เพื่อใช้เป็นระบบจัดการการเรียนสอนโดยเฉพาะ มีบทเรียน สื่อ และกิจกรรมบนระบบออนไลน์ มีการอบรมและพัฒนาครู มีการตรวจความก้าวหน้าของนักเรียนด้วยการวัดและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
  3. แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์สรุปได้ดังต่อไปนี้ 3.1) ด้านความพร้อมของครู นักเรียน และสถานศึกษา โรงเรียนควรติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีสัญญาณเสถียรภาพและครอบคลุมทุกอาคารเรียน แยกระบบของครูและนักเรียน จัดหาซิมฟรีให้นักเรียนอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา สนับสนุอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ให้ครูและนักเรียน 3.2) ด้านการออกแบบบทเรียน สื่อ และกิจกรรมบนระบบออนไลน์ ควรจัดอบรมการสร้างและผลิตสื่อการสอนออนไลน์ ส่งเสริมให้ครูผลิตคลิปวีดิโอด้วยตนเอง ปรับปรุงระบบให้สามารถตรวจสอบความก้าวหน้าการเรียนของนักเรียนเป็นรายบุคคล 3.3) ด้านเทคนิคและวิธีจัดการเรียนการสอน ครูต้องเปลี่ยนบทบาทโดยคอยให้คำแนะนำ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการเรียนของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง กระตุ้นความสนใจและความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย 3.4) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน โรงเรียนควรกำหนดหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และมีความยืดหยุ่น เน้นแบบทดสอบแบบตัวเลือก สนับสนุนให้ครูนำผลการวัดและประเมินผลในแต่ละครั้งมาเป็นข้อมูลในการปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอน ปรับปรุงระบบผลการทดสอบให้ใช้ง่ายและสามารถแยกรายห้องได้ ควรมีการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ผู้ปกครอง ครูผู้สอนในการใช้ระบบของโรงเรียนที่พัฒนาขึ้น เพื่อให้มีประสิทธิภาพและมีประโยชน์แก่ผู้เรียนมากที่สุด

References

การประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิง บูรณาการการเรียนรู้ออน์ไลน์ประชาคม.

อาเซียน: นโยบายและกระบวนการ (Integrating ASEAN Online learning: Policyand Process), สิงหาคม 2555, หน้า 110-113.

ชัยรัตน์ ไชยพจน์พานิช ทฤษฎีและวิจัยทางเทคโนโลยีทางการศึกษา.กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพาณิช.),รายงานการวิจัย,แหล่งที่มา ออนไลน์ http://www.ska2.go.th/reis/data/research.)

ปิยนุช วรบุตร, สมชาย ปราการเจริญ,การพัฒนาระบบการบริหารการเรียนการสอนออนไลน์

กรณีศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจพ.,แหล่งที่มา ออนไลน์, Information

Technology Journal; Vol. 1 No. 1 : มกราคม-มิถุนายน 2548; หน้า 8-14

พิชิต ตรีวิทยรัตน์ และ วรรณา ตรีวิทยรัตน์, นวัตกรรมการจัดการ เรียนการสอนระบบอีเลิร์นนิง

แบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop eLearning Management Innovation),

สุรศักดิ์ ปาเฮ. ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. การประชุมผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2, 2556.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,กระทรวงศึกษาธิการ, แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560- 2579, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: ttp://www.lampang.go.th/ public60/Education Plan2.pdf, [มีนาคม 2564].

โรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ 1”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.racha1.ac.th/ [23 มิถุนายน 2564].

R.S. Davies. D.L. Dean. Nick Ball (2013). "Flipping the classroom and instructional technology integration in a college-level information systems spreadsheet course", Educational Technology Research and Development (ETR&D), 61:4, pp. 563-580.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30