แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • พระมหาธำรงค์ ฐิตปุญฺโญ -
  • ดำรงค์ เบญจคีรี
  • ขัตติยา ด้วงสำราญ

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การตัดสินใจ, การศึกษาต่อ, การบริหารการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) เพื่อประเมินการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 3) เพื่อเสนอแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยทั้งระดับปริญญาโท และปริญญาเอก รวม 97 รูป/คน โดยมีขอบเขตด้านสถานที่ได้แก่ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

          ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้แก่ด้านการประกอบอาชีพ และด้านอิทธิพลชักจูงจากผู้อื่น โดยทั้งสองด้านสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 38.5 เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยการตัดสินใจในการเลือกศึกษาต่อสาขาวิชาการบริหารการศึกษา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยสามารถจัดอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านอาคารสถานที่ ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านหลักสูตร ด้านภาพลักษณ์ ด้านอุปการณ์การสอน ตามลำดับ สำหรับแนวทางพัฒนาพบว่า ในด้านภาพลักษณ์ ควรมีส่งเสริมภาพลักษณ์ ด้วยการชูความโดดเด่น ด้านในด้านหนึ่ง ให้เป็นที่ประจักษ์ ด้านอาคารสถานที่ ควรจัดให้มีอาคารจอดรถ และควรปรับปรุงป้ายแนะนำอาคาร โต๊ะเก้าอี้ แอร์ ลิฟ ความปลอดภัย ห้องสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ให้เพียงพอและเหมาะสม ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ควรปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสม ทันสมัยอยู่เสมอ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ด้านอาจารย์ผู้สอน ควรเพิ่มอาจารย์ให้มากยิ่งขึ้น มีความหลากหลายในการสอนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือมีวิทยากรอื่นเสริม ด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน ควรจัดหาหนังสือสาขาบริหารการศึกษาที่ทันสมัยและให้ครบทุกรายวิชา และควรมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์การเรียนการสอนให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ควรเพิ่มเกี่ยวกับระบบอินเตอร์เน็ตให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ เก้าอี้และโต๊ะเรียนควรมีขนาดที่เหมาะสมกับนักศึกษาและการใช้งาน ข้อเสนอแนะอื่นๆ ควรมีการศึกษาดูงาน มีการให้ทุนการศึกษา และควรมีการเพิ่มเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนให้มากขึ้น

References

พรนิภา บริบูรณ์สุขศรี, ณัฐ จันท์ครบ (2555). การออกแบบโต๊ะเรียนให้เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ เพื่อลดความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อ. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555 17-19 ตุลาคม 2555 ชะอำ เพชรบุรี

ภาวิตา กั้นเกษ . (2558). ปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโทของนักศึกษาชั้นปีที่4ปีการศึกษา 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

รัตนา กูเล็ม กลางเดือน โพชนา และ องุ่น สังขพงศ์ (2014). ความสอดคล้องของขนาดโต๊ะเก้าอี้นักเรียนกับขนาดสัดส่วนร่างกายของนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษา: กรณีศึกษา โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา. KKU Engineering Journal, October–December 2014; 41(4): 463-471

อุทัยวรรณ ศรีวิชัย และวุฒิพล คล้ายทิพย์, 2553. ศึกษาพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เนตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร. งานวิจัยเงินรายได้ มหาวิทยาลยแม่โจ้ - ชุมพร ประจําปีงบประมาณ 2553.

Chaudhari H., (2018). The Role of Library in Higher Education. Scholarly Research Journal for Humanity Science & English Language, Online ISSN 2348-3083, SJ IMPACT FACTOR 2016. UGC Approved Sr. No.48612, FEB-MAR 2018, VOL- 6/26

Hurwitz M., Park J., and Smith J., (2019). Heat and Learning. Joshua Goodman, Working Paper No. 24639 May 2018, Revised November 2019, JEL No. I20, J24, Q5

Jibrin M.A., 2017. Effects of Internet on the Academic Performance of Tertiary Institutions’ Students in Niger State, Nigeria. International Journal of Education, Learning and Training, Vol. 2 (No.2), November, 2017 ISSN: 2289-6694.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30