การศึกษาเนื้อหาและวิธีการสอนวิชาระเบียบวิธีวิจัยระดับมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Authors

  • บุญร่วม คำเมืองแสน -
  • พระสุทธิสารเมธี
  • พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม
  • กฤตสุชิน พลเสน
  • สันติราษฎร์ พวงมลิ

Keywords:

study contents, teaching methods, research methodology

Abstract

งานวิจัยเรื่องนี้  มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหาและวิธีการสอนระเบียบวิธีวิจัย 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อเนื้อหาที่สอน วิธีการสอน ผลการเรียนการสอน และความ สามารถในการนำไปใช้ 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อเนื้อหาที่สอน วิธีการสอน ผลการเรียนการสอน และความสามารถในการนำไปใช้  ในวิชาระเบียบวิธีวิจัยระดับมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  โดยได้เลือกกลุ่มประชากร ได้แก่นักศึกษาสาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา จำนวน 77 รูป/คน  เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมได้แก่ แบบสอบถาม โทรศัพท์มือถือ แบบบันทึก กล้องถ่ายรูป แล้วตรวจความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

 

          ผลการวิจัย พบว่า

 

ระดับความคิดเห็นของนักศึกษา ที่มีต่อเนื้อหาและวิธีการสอนระเบียบวิธีวิจัย ดังนี้ 1) ด้านการศึกษาเนื้อหาที่สอน โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยในแต่ละข้อได้ดังนี้ คือ ด้านการตั้งสมมติฐานการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ ด้านการกำหนดปัญหา การตั้งหัวข้อเรื่อง การทบทวนวรรณกรรม การตั้งวัตถุประสงค์ รองลงมาได้แก่ ด้านอธิบายความหมายของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย อธิบายความแตกต่างการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ ตามลำดับ 2) ด้านวิธีการสอน โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก  เมื่อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยในแต่ละข้อได้ดังนี้ คือ ด้านสอนแบบบรรยาย รองลงมาได้แก่ ด้านการสอนตามเอกสารประกอบการสอน/ตำรา ด้านการสอนแบบเชิงปฏิบัติการ ด้านการสอนแบบใช้สื่อ Power Point ประกอบการบรรยาย ส่วนด้านการสอนโดยวิธี Online ตามลำดับ

          ระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีเนื้อหาและวิธีการสอนวิชาระเบียบวิจัย ทั้ง 4 ด้าน จากการศึกษาพบว่า นักศึกษามีระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ ด้านการศึกษาเนื้อหา ด้านผลการเรียนการสอน ด้านความสามารถในการนำไปใช้ และด้านวิธีการสอน ตามลำดับ

          ข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าเนื้อหาการสอนควรมีเอกสารประกอบการเรียนให้มากกว่านี้ ควรแนะนำให้นักศึกษาค้นคว้าจากเอกสารสื่อออนไลน์เพื่อความเข้าใจในเนื้อหาที่สอนได้มากขึ้น มหาวิทยาลัย ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มของนักศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะงานวิจัยให้มากขึ้น โดยจัดสัมมนาทักษะงานวิจัยเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่นักศึกษามากขึ้น ในส่วนของการประเมินผลการเรียนการสอน ผู้สอนมีความยุติธรรม ประเมินตามความเป็นจริง ควรให้คำแนะนำปรึกษาอย่างดีแก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยควรส่งเสริมงานวิจัยอย่างจริงจัง จัดให้มีการสัมมนาวิชาการเพื่อให้นักศึกษาได้เผยแพร่งานวิจัยของตนเองได้และเป็นการส่งเสริมงานวิจัยครั้งต่อไปได้อย่างดียิ่ง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว. 2545

กิติมา ปรีดีดิลก, การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์, 2532

จิตติมา อัครธิติพงศ์, ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของ

นักศึกษาภาคปกติ ระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ประจำปีการศึกษาที่2/2552, รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏ

พระนครศรีอยุธยา, 2552

ณัฐสุดา ผาลา, การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรายวิชาโครงงานการท่องเที่ยวและการ

บริการ หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการท่องเที่ยวและการบริการ, รายงานวิจัย,

มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ 2559

ดิลก บุญเรืองรอด, การวางแผนการศึกษาระดับสถาบันการศึกษา, กรุงเทพมหานคร : แสวงสุทธิการพิมพ์,

บุญชม ศรีสะอาด, การพัฒนาการแผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร :

สุวีริยาสาส์น, 2541

บุญชม ศรีสะอาด, การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.2553

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ

มหานคร, 2544

พระครูสิริรัตนานุวัตร (ทวี ฐานวโร) นางพิรญาณ์ นวลมะ,การศึกษาเนื้อหาและวิธีการสอนวิชา

ตรรกศาสตร์เบื้องต้นในฐานะวิชาพื้นฐานทั่วไปสำหรับนิสิต, รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช, พ.ศ. 2550

พิจิตรา ทีสุกะ, การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้วิจัยเป็นฐานวิชาการพัฒนาหลักสูตร

สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู, วิทยานิพนธ์, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตร

และการสอน, ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556

เยาวพา เดชะคุปต์, การจัดการศึกษาสําหรับเด็กปฐมวัย, กรุงเทพมหานคร : ดวงกมลสมัย, 2542

วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,

(เดือนมกราคม – เดือนเมษายน พ.ศ. 2558)

รังสีจันท์ สุวรรณสทิศกร, การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชา

LSC305การจัดการผู้ขายปัจจัยการผลิตสัมพันธ์, รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2555

วีรนุช ปิณฑวณิช, กะเทาะร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สานปฏิรูป. 2544

วิชัย วงษ์ใหญ่ , พัฒนาหลักสูตรและการสอน-มิติใหม่. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2525

วิชัย วงศ์ใหญ่. การเรียนรู้อย่างมีความสุข : สารเคมีในสมองกับความสุขและการเรียนรู้. สำนักงาน

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ : การพิมพ์, 2544

วิชัย ตันศิริ, คำอธิบายพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542, กรุงเทพมหานคร : สายธาร, 2543

วิชัย ตันสิริ, อุดมการณ์ทางการศึกษา : ทฤษฎีและปฏิบัติ, กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย,

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์ , แนวทางจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัย, กรุงเทพฯ :ดวงกมล, 2538

สุมน อมรวิวัฒน์ , คําถามคําตอบบางข้อเกี่ยวกับหลักสูตรประถมศึกษา.ใน อําไพ สุจริตกุล

(บรรณาธิการ),เอกสารทางวิชาการ : หลักสูตรและการสอนระดับประถมศึกษา, 2514

สงวน สุทธิเลิศอรุณ, การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : อักษรบัณฑิต, 2529

สุมิตร คุณากร, หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: สยามการพิมพ์. 2540

สลิตา รินสิริ, การจัดการเรียนการสอนทีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนในอำเภอเกาะจันทร์

สำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2, ปริญญานิพนธ์, หลักสูตรการศึกษา

มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558

สุจินต์ ใจกระจ่าง, สภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนสาธิต

มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2553

สุดารักษ์ เนื่องชมพู, สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชา RTV 425ธุรกิจกองถ่าย

สาขาวิชา วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์, คณะนิเทศศาสตร์, รายงานวิจัย,

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2553

อุดมพร อมรธรรม, ปรัชญาการศึกษาพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพมหานคร : แสงดาว, 2549

อดิศักดิ์ ศุภธนสินเขษม. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชา CSE 105 โครงสร้าง

ข้อมูล สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์. รายงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน.

มหาวิทยาลัยศรีปทุม. 2554

Connelly & Clandinin, Teachers as curriculum planners :Narratives of experience. New

York : Teachers College Press.1988

Bredelkamp & Copple Bredekamp, S. (1987). Developmentally appropriate practice in

early childhood programs serving children from birth through age 8

(Expanded edition). Washington, DC : NAECY.1997

Downloads

Published

2023-06-30

How to Cite

คำเมืองแสน บ., พระสุทธิสารเมธี, ปุริสุตฺตโม พ., พลเสน ก., & พวงมลิ ส. (2023). การศึกษาเนื้อหาและวิธีการสอนวิชาระเบียบวิธีวิจัยระดับมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย . Mahamakut Graduate School Journal, 21(1). Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mgsj/article/view/268608