การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดในสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

ผู้แต่ง

  • อัสสกัลย์ บุรุษเกิด -
  • พระมหาไกรวรรณ์ ชินทตฺติโย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการชุมชน, ผู้บริหาร, การพัฒนาการจัดการเรียนรู้, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 3) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครูสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 67 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ  ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน

 

ผลการวิจัยพบว่า

 

  1. การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการจัดการความรู้ ด้านภาวะผู้นำร่วมการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชนการปฏิบัติที่มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านการมีเงื่อนไขที่สนับสนุน ด้านการแบ่งปันบทเรียนส่วนบุคคล ด้านการจัดการสภาพเอื้ออำนวย ด้านการเปิดรับการชี้แนะในการปฏิบัติงาน ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ด้านชุมชนกัลยาณมิตรและด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ ตามลำดับ
  2. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิต จากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านพื้นฐานการเรียนรู้สาระวิชาหลัก (3R) ด้านทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ด้านความรู้เชิงบูรณาการสำหรับศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและอาชีพ ด้านคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 และด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ตามลำดับ

          3 การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการมีเงื่อนไขที่สนับสนุน (X10) ด้านการจัดการความรู้ (X8) ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ (X2) ด้านการแบ่งปันบทเรียนส่วนบุคคล (X7) และด้านวิสัยทัศน์ร่วม (X1) ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ 0.842 ประสิทธิภาพในการทำนายเท่ากับ 0.709 โดยภาพรวม (Ytot) ได้ร้อยละ 71 ค่าประสิทธิภาพในการทำนายที่ปรับแล้ว (Adjusted R Square) เท่ากับ .704 โดยภาพรวม (Ytot) ที่มีการปรับแล้ว ได้ร้อยละ 70 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนายเท่ากับ .1743 สามารถเขียนเป็นรูปสมการวิเคราะห์การถดถอยได้ ดังนี้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Ytot) = -1.859 + 0.728 (X10) + 0.408 (X8) + 0.239 (X2) + 0.480 (X7) + -0.432 (X1) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตราฐาน (Zy)(Zy) = 0.602 (X10) + 0.225 (X8) + 0.239 (X2) + 0.457 (X7) + -0.422 (X1)

References

ชุมชนการเรียนรู้ครูเล็ก. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ครูปฐมวัย PLC และเป็นที่ปรึกษาการทำ PLC กลุ่ม“Kru Lek PLC ไทย บริบูน (2561) พัฒนาทักษะ 3R8C สู่ผู้นำเชิงนวัตกรรมรองรับ Thailand 4.0 วันที่ 4 สิงหาคม 2561 http://thaitribune.org/contents/detail/305?content_id=33074&rand=1533432729.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานของกลุ่มบุคคลที่มารวมตัวกันเพื่อทำงานร่วมกันและสนับสนุนซึ่งกันและกัน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ กรุงเทพฯ

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานของกลุ่มบุคคลที่มารวมตัวกันเพื่อทำงานร่วมกันและสนับสนุนซึ่งกันและกัน.

นันทวัน จันทรกลิ่น (2557) ศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการคุณภาพ ในการพัฒนา ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบานเนินมะปราง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบันฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก.

นวรัตน์ ไวชมภู และ สุจิตรา จรจิตร (2560) การเปลี่ยนแปลงสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ของอาจารย์พยาบาล วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 กันยายน 2560 – ธันวาคม 2560.

นวพร ชลารักษ (2558) บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 การเปลี่ยนแปลงในยุคศตวรรษที่ 21 วารสารวิชาการมหาลัยฟาร์อีสเทอร์น ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 พฤษภาคม 2558 – กรกฎาคม 2558.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด และเอกรินทร์ สังข์ทอง (2557) โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด, เอกรินทร์ สังข์ทอง และชวลิต เกิดทิพย์ (2557) รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

วรลักษณ คําหว่าง และนงลักษณ ใจฉลาด (2559) พัฒนาทักษะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัด พิษณุโลก วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม 2560 – มิถุนายน 2560.

วิรัชดา ทานิล และคณะ (2561) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของ

โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 2561 – ธันวาคม 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30