การพัฒนาสังคมในมิติบารมี 6

ผู้แต่ง

  • บุญโรจน์ เสรีวัฒนาวุฒิ -
  • สุวิญ รักสัตย์

คำสำคัญ:

การพัฒนาสังคม, บารมี 6

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาสังคมในมิติบารมี 6 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาการ พัฒนาสังคม 2. เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องบารมี 6 3. เพื่อพัฒนาสังคมในมิติบารมี 6 การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร ข้อมูลได้จากเอกสารคัมภีร์พระพุทธศาสนามหายานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการพัฒนาสังคมและด้านพุทธศาสนามหายาน

 

ผลการวิจัยพบว่า

 

การพัฒนาสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคมแบบกำหนดทิศทาง มีการวางแผนเพื่อให้เป็นสังคมที่มีคุณภาพ ทั้งรูปแบบ สภาพแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรมและจิตใจ ประชาชนในสังคมที่พัฒนาแล้วย่อมมีความสุข สะดวก สบาย มีสภาพการดำรงชีวิตที่ดีทั้งด้านวัตถุและทางจิตใจ ปัจจุบันการใช้เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นตัวชี้วัดการพัฒนาสังคมจึงเกิดปัญหาด้านครอบครัว ความขัดแย้งทางการเมืองและความยากจน

คำสอนเรื่องบารมี 6 เป็นหลักการพัฒนาชีวิตและสังคมที่พระพุทธศาสนามหายานใช้ในการดำเนินชีวิต เรียกว่า บำเพ็ญบารมี 1. ทานปารมิตา เป็นการบำเพ็ญด้วยการช่วยเหลือทางด้านสิ่งของต่าง ๆ 2. ศีลปารมิตา เป็นการบำเพ็ญด้วยการไม่ทำให้ตนและผู้อื่นเดือดร้อน อยู่เป็นปกติสุข 3. กษานติปารมิตา เป็นการบำเพ็ญด้วยความอดทนและอดกลั้นต่อการทำงาน ความเจ็บป่วยและการถูกยั่วยุด้วยกิเลส 4. วีรยปารมิตา เป็นการบำเพ็ญด้วยความเพียรพยายามในการทำความดีอย่างไม่ลดละ 5. ธยานปารมิตา เป็นการบำเพ็ญบารมีด้วยตั้งใจแน่วแน่ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตเป็นสมาธิ 6. ปรัชญาปารมิตา เป็นการบำเพ็ญด้วยความรอบรู้ในการดำเนินชีวิต ไม่ยึดมั่นถือมั่น เข้าถึงศูนยตา

References

พระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2525.

พระไตรปิฎกฉบับสากล วิถีธรรมจากพุทธปัญญา. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย, 2561.

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 48 ง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 2563.

ศานติเทวะ รจนา. ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ แปล.โพธิสัตตวจรรยาวตาร แนวทางแห่งการดำเนินชีวิตของพระโพธิสัตต์. กรุงเทพฯ : ศูนย์ไทย – ธิเบต. 2543.

สุวิทย์ ไพทยวัฒน์. รองศาสตราจารย์. สุดจิต เจนนพกาญจน์. ดร. เอกสารการสอนชุดวิชา สังคมมนุษย์. นนทบุรี :

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2555..

เสถียร โพธินันทะ. ปรัชญามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย. 2555.

สำนักงานมาตราฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. การศึกษาระบบการพัฒนาสังคมที่นำไปสู่ความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร:เทพเพ็ญวานิสย์. 2549.

อำพล จินดาวัฒนะ. นายแพทย์. จิตอาสา : พลังสร้างโลก บทเรียนรู้จากขบวนการพุทธฉือจี้ไต้หวัน ขบวนการที่เน้นหัวใจของความเป็นมนุษย์. กรุงเทพมหานคร:บริษัทสร้างสื่อจำกัด. 2549.

ประภาพร สีหา. ความขัดแย้งทางการเมืองกับรัฐประหาร ปี พ.ศ. 2557. วารสารรัฐศาสตร์ ปริทรรศน์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2560.

ทศพร คุ้มพร. การแปลและศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์อุบาสกศีลสูตรในพระพุทธศาสนามหายาน. สารนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2562.

การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562-2563.

https://th.wikipedia.org/wiki/ (25 เมษายน 2563)

ไทยพีบีเอส. “Global Report: รายงานผู้ติดเชื้อ-เสียชีวิตจาก COVID-19 ทั่วโลก”. 5 มิถุนายน 2563

.https://news.thaipbs.or.th/content/290923.

พลวุฒิ สงสกุล เปิดตัวเลขคนจนเพิ่มขึ้นเกือบล้านคน รายได้ลด ค่าอาหารแพงขึ้น ประชารัฐซ้ำเติม https://thestandard.co/poverty-number-increase/ 28 กันยายน 2562.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล รายงานสุขภาพคนไทย “ปรากฏการณ์มวลมหาประชาชนกับ

จุดเปลี่ยนประเทศไทย” https://www.thaihealthreport.com/10events 2557 28 กันยายน 2562.

สำนักข่าวไทย, สถิติความรุนแรงในครอบครัวช่วงโควิดพุ่งสูงเฉลี่ย 200 เรื่อง/เดือน

https://tna.mcot.net/social- (21 ตุลาคม 2564)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30