การใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45

ผู้แต่ง

  • ธัณเทพ ภู่จำศิลป์ -
  • พระเมธาวินัยรส

คำสำคัญ:

หลักสังคหวัตถุ 4, พนักงานธนาคารกสิกรไทย

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 ที่มีเพศ อายุ และระยะเวลาในการทำงานต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 จำนวน 140 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน

 

ผลการวิจัยพบว่า

 

1) พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 มีการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อแยกออกเป็นรายด้านพบว่า ด้านสมานัตตตา อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านทาน ด้านปิยวาจา และด้านอัตถจริยา อยู่ในระดับมาก

2) ผลเปรียบเทียบ พบว่า พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45
ที่มีเพศ อายุ และระยะเวลาในการทำงานต่างกัน มีการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 โดยรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3) พนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเขตบริการและการขาย 45 มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) ด้านทาน 2) ด้านปิยวาจา 3) ด้านอัตถจริยา และ 4) ด้านสมานัตตตา

References

ธนาคารกสิกรไทย. รายงานการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน 2563. กรุงเทพฯ : ธนาคารกสิกรไทย, 2563.

ปัณณธร เชียรชัยพฤกษ์. การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ ๔ เพื่อสร้าง ความผูกพันต่อองค์การ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2552.

พระณปวร โฆสิตธมโม (โทวาท). ทัศนะของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลัก สังคหวัตถุ 4 ของสถานีอนามัยในเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.

พระอธิการปณิธิ อธิปุญโญ (แก้วบุดดี). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลัก

สังคหวัตถุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ล้อมอำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์,

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.

วุฑฒิกร พรรัตนเมธี. การใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการปฏิบัติงานของพนักงาน : ศึกษาเฉพาะกรณี ห้างหุ้นส่วนจํากัด หลุยส์ พลาสติก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. สารนิพนธ์

ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552.

ศิวพร สัจจวัฒนา. การใช้หลักสังคหวัตุ 4 ในการให้บริการของโรงพยาบาลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนฝรั่งตามการรับรู้ของประชาชน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30