พฤติกรรมการขับขี่ด้วยหลักพุทธธรรมของผู้ขับขี่ ในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการขับขี่, หลักพุทธธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการขับขี่ด้วยหลักพุทธธรรมของผู้ขับขี่ ในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการขับขี่ด้วยหลักพุทธธรรมของผู้ขับขี่รถ ในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร, 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการขับขี่ที่ลดปัญหาการจราจรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการขับขี่และระยะทางในการขับขี่ต่อ 1 วันต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพฤติกรรมการขับขี่ด้วยหลักพุทธธรรมของผู้ขับขี่ ในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้พยายามที่จะสะท้อนให้เห็นถึงวิกฤตเรื่องปัญหาจราจร ความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจรจากพฤติกรรมการขับขี่ที่ส่งผลต่อความสูญเสียชีวิต เวลาและทรัพย์สินทั้งต่อครอบครัวผู้ที่เกี่ยวข้องและยังมีผลต่อประเทศชาติในการสูญเสียงบประมาณและการสูญเสียโอกาสทรัพยากรบุคคลในการพัฒนาประเทศ
ผลการวิจัยพบว่า:
1) ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ช่วงอายุของผู้ขับขี่อยู่ระหว่าง 41-50 ปี มีประสบการในการขับขี่อยู่ระหว่าง 1-5 ปี และส่วนใหญ่ใช้ระยะทางในการขับขี่ใน 1 วันมากกว่า 5 กิโลเมตรต่อวัน
2) ผู้ขับขี่มีพฤติกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับการปฏิบัติบางครั้ง ซึ่งพบว่าพฤติกรรมที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือด้านพฤติกรรมการขับขี่ ได้แก่การพกใบอนุญาตขับขี่มีการปฏิบัติมากที่สุด ส่วนการรัดเข็มขัดนิรภัย/สวมหมวกนิรภัยขณะขับรถมีการปฏิบัติน้อยที่สุด
3) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการขับขี่พบว่าผู้ขับขี่ที่มีเพศต่างกัน มีระดับการศึกษาต่างกัน และมีการขับขี่ระยะทางใน 1 วัน มีพฤติกรรมการขับขี่ที่ลดปัญหาการจราจรต่างกัน ในส่วนผู้ขับขี่ที่มีอายุต่างกันและมีประสบการณ์ในการขับขี่ที่ลดปัญหาการจราจรไม่แตกต่างกัน
4) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่เพื่อลดปัญหาการจราจร คือการส่งเสริมและรณรงค์ให้ความรู้เรื่องวินัยจราจรในสถานศึกษา เพื่อสร้างจิตสำสำนึกระดับเยาวชน ประชาสัมพันธ์และรณรงค์เพื่อสร้างวินัยจราจรให้ประชาชนอย่างต่อเนื่องในการขับขี่อย่างถูกต้องตามกฎจราจร บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการจราจร และมีบทลงโทษอย่างจริงจังจากภาครัฐ
References
สุดใจ ภูกงลี. หิริ โอตตัปปะกับการแก้ปัญหาสังคม. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. ISSN 1513-6736 ปีที่ 18, ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2560), 2560.
ชัยรพ จุณณวัตต์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการฝ่าฝืนกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างในเขตกรุงเทพมหานคร. (กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), 2540.
นัชรัศม์ ชูหิรัญญ์วัฒน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎหมายจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างในเขตเทศบาลนครราชสีมา. (นครราชสีมา : คลังปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี), 2555.
ศิริกุล กุลเลียบ และคณะ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงกาศึกษาข้อมูลการบาดเจ็บจาก อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์.โรงพยาบาลขอนแก่น, 2553.
สมนึก ภัททิยธนี, การวัดผลการศึกษา, (กาฬสินธุ์ : ประสารการพิมพ์, 2549), หน้า 166-167.
สุนทร เฉลิมเกียรติ. ปัจจัยที่มีผลต่อการฝ่าฝืนกฎจราจร ของผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ในกรุงเทพมหานคร. (กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรร์มหาวิทยาลัย), 2540.
สุวรรณา ภัทรเบญจพล และคณะ. พฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎจราจรของชุมชนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. ปีที่ 9. 2556, หน้า 132-137.
สุมาดา ฬาพานิช. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการฝ่าฝืนกฎจราจรของผู้ขับขี่
รถจักรยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร,วิทยานิพนธ์สังคมวิทยามหาบัณฑิต. สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์. ศีล : พุทธวิธีปลุกจิตสำนึกแก้ปัญหาวินัยจราจร. บทความวิชาการพระพุทธศาสนา. มหวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิลัย. 2558. สืบค้น 3 มกราคม 2563, จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/315.
พระปลัดสุรศักดิ์ ปุณวุฒโฑ. ศึกษาการนำหลักขันติไปใช้สำหรับผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะบนท้องถนน เพื่อป้องกันปัญหาอุบัติเหตุ. 2561. สืบค้น 14 มกราคม 2563, จาก www.tci-thaijo-org/147880-Article%20Text-555357-2-10-20190515%20(5).pdf.
Bates, L. et al., Factors Contributing to Crashes Among Young Drivers crashes : A review. Scltan Quboos University Medial Journal, 14 (3) 2014, P.297.
Dang Viet Hung, Mark R, Stevenson, Rebecca Q Ivers. (2008). Barriers to and factors associated, with observed motorcycle helmet use in Vietnam. Accident Analysis and Prevention 40 page1627-1633.
Deery, H. A., Hazard and risk perception among young novice drivers. Journal of Safety Research, 30(4), 1999, pp.225–236. https://doi.org/10.1016/S0022-4375(99)00018-3
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์