การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคดิจิทัลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • กรุณา ภิรมย์ธรรม -
  • ดร.เกษม แสงนนท์
  • ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การประกันคุณภาพภายใน, สถานศึกษายุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคดิจิทัล 2. เพื่อศึกษาปัญหาการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคดิจิทัล และ 3. เพื่อเสนอวิธีการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคดิจิทัล ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดชลบุรี ใช้รูปแบบวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณ และงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กลุ่มประชากรครู จำนวน 125 คน ในการเก็บข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการพัฒนาประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคดิจิทัล และสัมภาษณ์ผู้อำนวยการหรือรักษาการผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 5 คน เกี่ยวกับปัญหาการพัฒนาการประกันคุณภาพภายใน โดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคดิจิทัล

             ผลการวิจัยพบว่า

  1. ครูมีความคิดเห็นต่อสภาพการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคดิจิทัล โดยภาพรวม และทุกข้อ อยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเอง จัดทำแผนการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา นำผลการดำเนินงานไปใช้พัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาตามลำดับ
  2. ผลการศึกษาปัญหาการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคดิจิทัล โดยภาพรวม ทั้ง 6 องค์ประกอบ อยู่ในระดับน้อย เรียงตามลำดับ ได้แก่ การดำเนินตามแผนงานที่วางไว้ นำผลไปพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา การตรวจสอบคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐาน ที่สถานศึกษากำหนด และมีแผนพัฒนาการศึกษาและการรายงานผลการประเมินตนเอง
  3. เสนอวิธีการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคดิจิทัล ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดชลบุรี มีวิธีการดังนี้

                    3.1 ด้านแผนพัฒนาการศึกษา (Plan) ตั้งคณะทำงานจัดทำแผนกลยุทธ์พัฒนาการศึกษา กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนางานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

                     3.2 ด้านการปฏิบัติ (Do) สำรวจข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษาโดยนำนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลมาจัดเก็บข้อมูล จัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาและสร้างเครือข่ายเชื่อโยงกับหน่วยงานระดับเขตพื้นที่การศึกษา และอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่บุคลากรทุกคน

                     3.3 ด้านการตรวจสอบ (Check) แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพการศึกษากำหนดแนวทางหรือวิธีการประเมินคุณภาพการศึกษาและดำเนินการตรวจสอบตามแผนที่วางไว้

                     3.4 ด้านการปรับปรุง (Act) สนับสนุนฝ่ายบริหารที่ตรวจการประเมิน เตรียมความพร้อมทั้งบุคลากรและหลักฐานต่างๆ เพื่อรับรองการตรวจประเมินให้ชัดเจนตามอำนาจหน้าที่รับผิดชอบคณะผู้ตรวจประเมินตลอดถึงการนำผลการตรวจประเมินไปพัฒนาแก้ไข้ข้อบกพร่องที่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ตรวจประเมินด้วยวิธีการที่เหมาะสมต่อไป

References

กนิษฐา สนเผือก, รายงานการวิจัย การศึกษาการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรคณะ พัฒนาการท่องเที่ยว, (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่, 2556).) และ สถาพร ถาวรอธิวาสน์ และ

คณะได้วิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม” ณชล ลิ้มภักดี, “ปัญหาและแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี”, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,(บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559), หน้า 19.

(ณชล ลิ้มภักดี, “ปัญหาและแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี”, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559), หน้า 19.)

ณรงค์ชัย ศิริไพศาล, “การปฏิบัติงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จังหวัดสตูล”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร

การศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 2560), บทคัดย่อ.

นริศรา หร่ายพิมาย, “สภาพการดำเนินการและปัญหาในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี เขต 1”, วารสารการวัดผลการศึกษา, 33 (94), (2559): 55–64

นุจนาจ ขุนาพรม, “แนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ”,วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย:

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2560), บทคัดย่อ.

ปียานันต์ บุญทิมา, “การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนวัดห้วย ม้าโก้ง ด้วย

แนวคิดแบบไคเซ็น”, โครงการวิจัยจากสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, (โรงเรียนวัดห้วยม้าโก้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1, 2561), หน้า 1-2. โรงเรียนในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี, ข้อมูลสถิติการศึกษา, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.info.mua.go.th [28 พฤษภาคม 2564].

พัทธ์ธีญา ไพรมุ้ย, “การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556), หน้า 46.

พินิจ นันทเวช, “สภาพการปฏิบัติ และประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 2560), บทคัดย่อ.

ลิขิต ขัดแก้ว, “แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา วิทยาลัยเทคนิคในจังหวัดพะเยา”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2560), บทคัดย่อ.

วิบูลย์ คาทอง, “สภาพ ปัญหาและแนวทางพัฒนาการดาเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2”,วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2557), หน้า 21.

วาลิช ลีทา, “สภาพ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6”, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559), บทคัดย่อ

วิระ โกสุมาลย์, “สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2560), บทคัดย่อ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554, (กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค, 2545), หน้า 28.

สมโภชน์ หลักฐาน, รายงานผลการสร้างและการใช้คู่มือปฏิบัติการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษา ที่อิงผลการประเมินของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1, (ศรีสะเกษ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1, 2562), หน้า 2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31