แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1
คำสำคัญ:
การพัฒนา, นวัตกรรม, การจัดการเรียนการสอนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนขนาดเล็ก 2. เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนขนาดเล็ก 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัย เชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างครูโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 226 คน ใช้สถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนขนาดเล็ก
ผลการวิจัยพบว่า
- ครูสอนในโรงเรียนขนาดเล็กมีความคิดเห็นต่อสภาพการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนขนาดเล็ก โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอนด้านสื่อการสอน และด้านการประเมินผล ตามลำดับสภาพการใช้นวัตกรรมของครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
- ผลการศึกษาวิธีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ประกอบด้วย 1) วิเคราะห์สภาพปัญหาของนวัตกรรม 2) กำหนดกรอบแนวคิดการพัฒนา 3) กำหนดวัตถุประสงค์การพัฒนา 4) กำหนดคุณลักษณะของนวัตกรรม 5) ขั้นตอนวิธีการพัฒนา 6) การออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ 7) วางแผนพัฒนานวัตกรรม 8) ตรวจสอบและทดลองนวัตกรรม 9) สรุปและประเมินผลการพัฒนา
- แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 มีดังนี้ คือ โรงเรียน ขนาดเล็กควรเลือกเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง การเรียนการสอนควรนำสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยใช้การจัดการเรียนการเรียน และใช้ในการวัดผลประเมินผลให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีคุณภาพทางการศึกษามากยิ่งขึ้น
References
กมลลักษณ์ โพธิอรุณพัชญ์, “แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแพทย์แผนไทย สาขาผดุงครรภ์
ไทย ยุคไทยแลนด์ 4.0”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชาพุทธบริหารการศึกษา,
(บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2562), บทคัดย่อ.
จารุวรรณ นาตัน, “นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก”, วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตสาขา การบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร,2556), บทคัดย่อ.
นิพนธ์ กินาวงศ์, หลักเบื้อต้นเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนและการนิเทศการศึกษา,
(กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พิฆเนศ, 2533), หน้า 72.
พระสารัตน์ ตปุญฺโญ (เลี้ยงศรี), “แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ
ปี (2560-2579) ของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2563), บทคัดย่อ
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545, กระทรวงศึกษาธิการ, (กรุงเทพมหานคร: พริกหวานหราฟฟิก, 2545), หน้า 25.
สุชาติ ศิริสุขไพบูลย์, เทคนิคและวิธีการสอนวิชาชีพ, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอม
เกล้าพระนครเหนือ, 2527), หน้า 110.
สุราษฎร์ พรมจันทร์, ยุทธวิธีการเรียนการสอนวิชาเทคนิค, ฉบับปรับปรุง, (กรุงเทพมหานคร: สถาบัน
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2550), หน้า 15.
Arterbury, Elvis Hug , ‘Teacher Utilization of Media Service Provided by the Regional Education Service Centers in Texas”, Dissertation Abtracts International, 32,3 (March1972): A.
R.V. Krejcie และ Morgan อ้างใน ธานินทร์ ศิลป์จารุ, การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS
และ AMOS, พิมพ์ครั้งที่ 17, (กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์, 2560), หน้า 49.
Rogers, E.M., Diffusion of Innovations. New York: Free Press. Retrieved, [online],
source: from books.google.co.th: https://books.google.co.th/books.P12 .[12 July 2021].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์