แนวทางการสร้างวินัยตามหลักพุทธบริหารการศึกษาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

ผู้แต่ง

  • นวรัตน์ สถาพรพานิช -
  • พระครูกิตติญาณวิสิฐ, ดร.
  • ดร.ลำพอง กลมกูล

คำสำคัญ:

แนวทางการสร้างวินัย, พุทธบริหารการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพความมีวินัยของนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 2. เพื่อศึกษากระบวนการสร้างวินัย ตามหลักพุทธบริหารการศึกษาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการสร้างวินัยตามหลักพุทธบริหารการศึกษา สำหรับนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 318 คน ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับ แนวทางการสร้างวินัยตามหลักพุทธบริหารการศึกษาสำหรับนักเรียน โดยใช้สถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบียนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย

  1. ศึกษาสภาพความมีวินัยของนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 พบว่า โดยภาพรวม มี 5 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการรู้จักกาลเทศะ ด้านการปฏิบัติตามกฎของโรงเรียน ด้านการปฏิบัติตนตามระเบียบ ด้านตรงต่อเวลาและด้านความรับผิดชอบ
  2. ศึกษากระบวนการสร้างวินัย ตามหลักพุทธบริหารการศึกษาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ด้วยหลักไตรสิกขา พบว่า (ขั้นสีลสิกขา) ครูควรส่งเสริมให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง (ขั้นสมาธิสิกขา) ควรฝึกพัฒนาอบรมจิตใจให้นักเรียน เพื่อยกระดับของจิตสู่ฐานเรียนรู้ปัญญา (ขั้นปัญญาสิกขา) ครูจัดกิจกรรมส่งเสริมปัญญาโดยเรื่องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของโรงเรียน ความรับผิดชอบต่อเวลาการมาโรงเรียน
  3. แนวทางการสร้างวินัยตามหลักพุทธบริหารการศึกษาสำหรับนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 พบว่า ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ ด้านตรงต่อเวลา ด้านการปฏิบัติตนตามระเบียบ ด้านการปฏิบัติตามกฎของโรงเรียน ด้านการรู้จักกาลเทศะ (ขั้นสีลสิกขา) มีแนวทางปฏิบัติคือ ให้นักเรียนตั้งใจรับผิดชอบต่อเวลาและปฏิบัติตนตามระเบียบโรงเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้มารยาทการเข้าสังคมอย่างถูกต้องตามกาลเทศะและโรงเรียนควรประสานกับครอบครัวช่วยดูแลเอาใจเรื่องความรับผิดชอบเกี่ยวกับตามระเบียบโรงเรียน (ขั้นสมาธิสิกขา) มีแนวทางปฏิบัติคือ จัดกิจกรรมฝึกทักษะนิสัยแก่นักเรียนในการใช้สิตสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่เสมอและปฏิบัติตนตามระเบียบของโรงเรียนอย่างเคร่งครับ (ขั้นปัญญาสิกขา) มีแนวทางปฏิบัติคือ ครูควรชี้แจงทำความเข้าใจถึงกระบวนการสร้างวินัยตามแนวทางของปัญญา ดังนี้ โรงเรียนควรจัดกิจกรรมวินัยนักเรียน เช่น กิจกรรมแข่งขันเรื่องระเบียบวินัย เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องกฎ ระเบียบวินัยให้นักเรียนฟัง ส่งเสริมให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า กฎระเบียบต่างๆ นำมาคิดวิเคราะห์เป็นความรู้ใหม่ และการลงมือปฏิบัติในการทำกิจกรรมตามกฎระเบียบ ความรับผิดต่อกิจกรรมที่ขึ้น ทำให้นักเรียนเข้าใจ กฎระเบียบข้อบังคับได้ถูกต้อง

References

กระทรวงศึกษาธิการ, คู่มือการสร้างเครื่องวัดคุณลักษณะด้านจิตพิสัย, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา,

.

กระทรวงศึกษาธิการ, คู่มือการเสริมสร้างวินัยนักเรียนในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการ ปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ รู้จักกาลเทศะและเคารพสิทธิผู้อื่น, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค), หน้า ช.

บัณฑิดา ศุพุทธมงคล, “การนำเบญจศีล-เบญจธรรมพัฒนานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มโรงเรียน

ปากอ่าวเจ้าพระยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 1”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย ,2559), บทคัดย่อ.)

ปราณี สุวรรณฉวี, “ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาวินัยนักเรียนโรงเรียนวัดสุทธาวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3”, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2554), บทคัดย่อ.

ประเวศ วะสี อ้างใน จรัล ถาวร, “พฤติกรรมนักเรียนที่ผ่านการอบรมโครงการพัฒนาและส่งเสริม คุณธรรม

จริยธรรม”, การค้นคว้าอสิระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, (บัณฑิต

วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549).).

พวงผกา แซ่ตัน, “การศึกษาวินัยนักเรียนช่วงชั้นที 3 โรงเรียนวังจันทร์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต

”, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, (คณะศึกษาศาสตร์:

มหาวิทยาลัยบูรพา, 2554), หน้า 22.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระ-เพิ่มเติม ช่วงที่ 1/ยุติ),

(กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา, 2554), หน้า 371.

ระวี ภาวิไล, หัวใจของศาสนาพุทธ, บทความเสนอในการประชุมทางวิชาการ เรื่องหัวใจของพุทธศาสนา, (ธรรมสถาน: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2548), หน้า 1.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2554), หน้า 4.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2559-2559),

(กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2553), หน้า 20-11.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1”, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครินทร์, 2553), บทคัดย่อ.

สายพิณ ทะวรรณา, “การส่งเสริมจริยธรรมด้านวินัยนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนเครือข่าย 57 สังกัดสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560), บทคัดย่อ.

อินทิรา บุญวาที, “สภาพปัญหาวินัยและการเสริมสร้างวินัยนักเรียน โรงเรียนบ้านจัดสรรจังหวัดตราด”,

วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, (คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2550), หน้า 22.

R.V. Krejcie และ Morgan อ้างใน ธานินทร์ ศิลป์จารุ, การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS, พิมพ์ครั้งที่ 17, (กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์, 2560), หน้า 49.

Tantekin (2002), The attitudes to early childhood teachers toward gender roles and

towarddiscipline, Dissertation Abstracts International, 63(2), 179-A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31