การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อออนไลน์ของโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตจตุจักร สังกัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, สื่อออนไลน์โรงเรียนประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อออนไลน์ของโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตจตุจักร สังกัดกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อออนไลน์ของโรงเรียนประถมศึกษา เขตจตุจักร สังกัดกรุงเทพมหานคร 2. ศึกษาวิธีพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อออนไลน์ของโรงเรียนประถมศึกษา เขตจตุจักร สังกัดกรุงเทพมหานคร 3. เสนอแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อออนไลน์ของโรงเรียนประถมศึกษาเขตจตุจักร สังกัดกรุงเทพมหานคร ใช้กลุ่มตัวอย่างครู 148 คน ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหาการสัมภาษณ์
ผลการวิจัย
- ครูมีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อออนไลน์ของโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตจตุจักร สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม และทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการใช้สื่อออนไลน์ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการสอน ด้านการใช้สื่อออนไลน์ในการวัดและประเมินผล ด้านการใช้สื่อออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอน และด้านความพร้อมในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อออนไลน์ ตามลำดับ
- วิธีพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อออนไลน์ ควรวางแผนการสอนโดยยึดหลักสูตรและตัวชี้วัด ผลิตสื่อการสอนใช้เองและเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์หลายประเภท บูรณาการกิจกรรมหลายวิชา ใช้ระบบสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพ มีวิธีการสอนที่น่าสนใจ ออกแบบเกณฑ์การวัดและประเมินผลให้มีความยืดหยุ่น สร้างแบบทดสอบปรนัยและอัตนัยผ่านสื่อออนไลน์ ผู้เรียนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล ครูศึกษาข้อมูลการใช้สื่อออนไลน์เพื่อเพิ่มทักษะการทำงาน
3. แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อออนไลน์ 1) ด้านการใช้สื่อออนไลน์ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการสอน ยึดหลักสูตรและตัวชี้วัด ผลิตสื่อการสอนใช้เองและเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ บูรณาการกิจกรรมหลายวิชา ร่วมมือกับองค์กรภายนอกพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านทักษะการใช้เทคโนโลยี สื่อออนไลน์และการผลิตสื่อการสอน 2) ด้านการใช้สื่อออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอน ครูใช้สื่อออนไลน์หลายประเภท ให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้เรียน สถานศึกษาช่วยเหลือสนับสนุนให้ครูใช้อุปกรณ์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพ 3) ด้านการใช้สื่อออนไลน์ในการวัดและประเมินผล มีความยืดหยุ่น สามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนทั้งกลุ่มที่มีความพร้อมและกลุ่มที่ไม่มีความพร้อมในการเรียนออนไลน์ได้ สร้างเครือข่ายชุมชนเพื่อให้ผู้เรียนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล
References
บุญชุม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น, 2545.
วราพร ดำจับ.“สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”. วารสารศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2. กรกฎาคม-ธันวาคม, 2562.
วิทัศน์ ฝักเจริญผลและคณะ. “ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ภายใต้สถานการณ์
ระบาดไวรัส 19 Covid-19”.วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. ปีที่ 4 ฉบับ 123456789 ที่ 1 มกราคม – มิถุนายน, 2563.
สิริพร อินทสนธิ์. “โควิด - 19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษารายวิชาการเขียน 123456789
โปรแกรมเว็บ”, วารสารวิทยาการการจัดการปริทัศน์. ปีที่ 22 ฉบับที่ 2. กรกฎาคม – 123456789 ธันวาคม, 2563.
ไทยพับลิก้า, “สำรวจผลกระทบหลังโควิด -19 จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการศึกษาโลก”, 123456789
[ออนไลน์] แหล่งที่มา: https://thaipublica. org/2021/01/exploring-the-effects-123456789 of-covid-19-the-turning-point-of-world-education/ [10 กรกฎาคม 2564].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์