การพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร ทวีการ -
  • พระครูสาทรปริยัติคุณ, ดร.
  • ดร.ทองดี ศรีตระการ

คำสำคัญ:

การพัฒนาการบริหารงานวิชาการ, หลักไตรสิกขา, ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่.

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างครูโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 229 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

             ผลการวิจัยพบว่า :

  1. สภาพการบริหารงานวิชาการในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา จังหวัดปทุมธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านวัดผลและประเมินผลการศึกษา ด้านหลักสูตร และด้านการจัดการเรียนรู้
  2. วิธีการพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา จังหวัดปทุมธานี ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ มีกลยุทธ์ และเป้าหมายที่ชัดเจนโดยใช้ไตรสิกขาสอดแทรกในหลักสูตร สร้างบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตร มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริมให้จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนพัฒนาองค์ความรู้ใหม่สู่ปัญญาภิวัฒน์ จัดการเรียนการสอนสื่อสมัยใหม่ ใช้สื่อที่ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนที่หาง่ายเป็นสิ่งใกล้ตัวนักเรียนส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน

          3. แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา จังหวัดปทุมธานี 4 ด้าน 1) ด้านหลักสูตร นิเทศติดตามการเรียนการสอนและปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ปรับหลักสูตรให้กระชับควบคู่ไปกับจัดลำดับความสำคัญ เพิ่มความยืดหยุ่นของโครงสร้างเวลาเรียน 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วม จัดสอนสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมตามความถนัดความสนใจความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี 3) ด้านสื่อการเรียนการสอน จัดให้มีแหล่งการเรียนรู้และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้การเรียนการสอน จัดอบรมการใช้สื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ใช้สื่อที่ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมตามหลักไตรสิกขา 4) ด้านวัดผลและประเมินผลการศึกษา ประชุมชี้แจงให้ครูเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ นำผลการวัดประเมินผลแต่ละครั้งมาเป็นข้อมูลในการพัฒนา ปรับปรุง การเรียนการสอน เน้นให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองไปพร้อมกันทั้ง 3 ด้าน คือด้านศีล ด้านสมาธิ ด้านปัญญา

References

ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม, ผศ.ดร. และคณะ, “แนวทางการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา”, รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : คณะครุศาสตร์, 2546.

แนวคิดการบริหารการศึกษาตามหลักไตรสิกขากับแนวคิดตาม ทฤษฎีเชิงระบบ เป็นความสอดคล้องกันที่ลงตัว, http://oknation.nationtv.tv/blog/tongtip/2011/07/19/entry-1 [ออนไลน์วันที่ 31 กรกฎาคม 2564]

บุญเลิศ จีรภัทร์ และคณะ, “แนวทางการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา”, รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : คณะครุศาสตร์, 2546.

บุญเลิศ จีรภัทร์ และคณะ, “แนวทางการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา”, รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : คณะครุศาสตร์, 2546.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น, การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด – 19, Journal of Arts Management Vol.4 No.3 September – December 202

วรเชษฐ์ จันทรภิรมย์, “การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน”, การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546.

วัฒนา มโนจิตร, “การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่”, การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540.

อุทัย บุญประเสริฐ, การวางแผนและจัดระบบแผนงานในโรงเรียน, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เอส ดีเพรส, 2538.

McMullen, “Effective Discipline and Contingency Management System in an Urban Junior High/Middle School with and Emphasis on Development Needs to Young Adolescent”, Dissertation Abstracts International, 46 (7) : 1985.

R.V.Krejcie กับ D.W.Morgan, อ้างใน, ธานินทร์ ศิลป์จารุ, การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS, กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี, 2541.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31