แนวทางการใช้สื่อดิจิทัลสำหรับการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้สื่อการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2) เพื่อศึกษาวิธีพัฒนาการใช้สื่อดิจิทัลสำหรับการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 3) เพื่อเสนอแนวทางการใช้สื่อดิจิทัลสำหรับการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 377 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการใช้สื่อการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสื่อสิ่งพิมพ์อื่นและวัสดุอุปกรณ์ ด้านบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และด้านสื่อธรรมชาติ
- วิธีพัฒนาการใช้สื่อดิจิทัลสำหรับการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี สื่อสิ่งพิมพ์ต้องใส่ความเคลื่อนไหวของสังคมและถ่ายทอดความรู้สึกนั้นออกมาทางสื่อสิ่งพิมพ์มีเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ และสามารถนำมาใช้ในการศึกษาได้ สื่อธรรมชาติเกี่ยวกับสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักคิดและดัดแปลงให้เข้ากับบทเรียน ก็จะเกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เสนอเนื้อหาวิชาทั้งในรูปตัวหนังสือ และภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว สามารถถามคำถาม รับคำถาม และแสดงผลการเรียนในรูปของข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
- เสนอแนวทางการใช้สื่อดิจิทัลสำหรับการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเพชรบุรีด้วย ADDIE Model คือ Analysis (การวิเคราะห์) กำหนดคุณลักษณะของสื่อที่ต้องการ ออกแบบสื่อตามกระบวนการเรียนรู้ กำหนดเป้าหมาย Design (การออกแบบ) ออกแบบพิมพ์เขียว โครงสร้างของสื่อตามคุณลักษณะที่ได้กำหนดไว้ตามกระบวนการเรียนรู้ Development (การพัฒนา) สร้างโมเดลสื่อการเรียนรู้จำลอง สร้างชั้นเรียนทดลอง Implement (การดำเนินการ) ดำเนินการสร้างสื่อจริง สื่อสิ่งพิมพ์ต้องใส่ความเคลื่อนไหวของสังคมและถ่ายทอดความรู้สึกนั้นออกมาทางสื่อสิ่งพิมพ์มีเนื้อหาสาระที่มีประโยชนและEvaluation (การประเมินผล) ประเมินความพึงพอใจ และคุณภาพของสื่อตามคุณลักษณะที่ได้กำหนดไว้ทั้งในรูปตัวหนังสือ และภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว สามารถถามคำถาม รับคำถาม และแสดงผลการเรียนในรูปของข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ให้แก่ผู้เรียนในสังคมดิจิทัล
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, 2559.
เกศินี ครุณาสวัสดิ์ , “สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาเพื่อพัฒนาจริยธรรมในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), 2548. หน้าบทคัดย่อ.
ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน สังกัด สพม.เขต 10 ข้อมูลจาก http://data.bopp- obec.info/emis/school.
php?Area_CODE=101703 วันที่ 15 สิงหาคม 2563.
นางสาววันเพ็ง ระวิพันธ์,แนวทางการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครูตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2 , (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2562), หน้าบทคัดย่อ.
ว่าที่ร้อยตรี ทรงเกียรติ พืชมงคล, “รูปแบบการจัดการดิจิทัลเทคโนโลยีสู่คุณภาพตามมาตรฐานสากลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย”, รายงานวิจัย, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม 2558), บทคัดย่อ
วิชา สังคม, https://sites.google.com/site/thitiya5821/wicha-reiyn/1-4wicha-sangkhm [ออนไลน์วันที่ 10 สิงหาคม 2563]
วิภาพรรณ พินลา, แนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสําหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21, สาขาการสอนศิลปศาสตร์ (การสอนสังคมศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา, 2556.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. เส้นทางสู่ความสำเร็จของการปฏิบัติตามนโยบายการศึกษาไทย:แนวทางการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. (กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2542), หน้า 1.
สิปปนนท์ เกตุทัต. “นโยบายการศึกษา : ครูผู้บริหารการศึกษาและโลกาภิวัตน์”. วารสารข้าราชการครู. 16 (กุมภาพันธ์-มีนาคม 2539) : 96.
แสงเดือน ผ่องพุฒ, 2563. สื่อสังคมออนไลน์ : แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้(online).สืบค้นได้จาก http://digitalasia.co.th/wpcontent/uploads/2020/12/66 85991_0 004.pdf. [2563, สิงหาคม 27].
Break, John James. (August, 1979) An Analysis Of Student Attitude Toward Computer Assisted Instruction in Nebraska Public High School. in Dissertotion Abstract International. 40 (02) : 886-A.
R.V.Krejcie กับ D.W.Morgan, อ้างใน, ธานินทร์ ศิลป์จารุ, การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS, (กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี, 2541), หน้า 49.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์