แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของคฤหัสถ์ในยุคฐานวิถี ชีวิตใหม่สำหรับ สำนักปฏิบัติธรรมจังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • นัฏธนัน ภู่นิเทศ -
  • พระครูสถิตบุญวัฒน์, ดร.
  • ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย

คำสำคัญ:

การปฏิบัติธรรมของคฤหัสถ์, ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการปฏิบัติธรรมของคฤหัสถ์ ในยุคฐานวิถีใหม่สำหรับสำนักปฏิบัติธรรม จังหวัดกาญจนบุรี  2. เพื่อศึกษาวิธีการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของคฤหัสถ์ในยุคฐานวิถีใหม่สำหรับสำนักปฏิบัติธรรม จังหวัดกาญจนบุรี  3. เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริม การปฏิบัติธรรมของคฤหัสถ์ในยุคฐานวิถีใหม่สำหรับสำนักปฏิบัติธรรม จังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีระหว่างเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือแบบสอบถามเชิงลึก เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้มาปฏิบัติธรรมจำนวน 150 คนและการวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เจ้าอาวาสสำนักปฏิบัติธรรมจำนวน 6 รูป วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย

  1. สภาพทั่วไปของการปฏิบัติธรรมของคฤหัสถ์ในยุคฐานวิถีใหม่สำหรับสำนักปฏิบัติธรรม จังหวัดกาญจนบุรี ผู้ปฏิบัติไม่สามารถมาปฏิบัติธรรมที่วัดได้ตามปกติเนื่องจากเกิดโรคระบาดโควิคทำให้ไม่สามารถมาปฏิบัติธรรมร่วมกันได้ การใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อในการเผยแพร่จึงเข้ามามีบทบาทในการปฏิบัติธรรม ทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติธรรมที่บ้านได้ แต่สถานที่ปฏิบัติธรรมที่บ้านยังขาดความเงียบสงบซึ่งแตกต่างจากสำนักปฏิบัติธรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้ผู้ปฏิบัติบางท่านยังขาดความรู้ความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี
  2. วิธีการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของคฤหัสถ์ในยุคฐานวิถีใหม่ สำหรับสำนักปฏิบัติธรรม จังหวัดกาญจนบุรี ภาพรวมทุกด้าน ผู้ปฏิบัติธรรมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับที่มากที่สุด โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักปฏิบัติ (สติปัฏฐาน 4) รองลงมา ด้านสถานที่ ด้านวิปัสสนาจารย์ ด้านฐานวิถีชีวิตใหม่ และด้านการบริหารจัดการ ตามลำดับ
  3. แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของคฤหัสถ์ในยุคฐานวิถีใหม่สำหรับสำนักปฏิบัติธรรม จังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่ ด้านหลักปฏิบัติ (สติปัฏฐาน4) ควรเน้นผู้ปฏิบัติฝึกเสริมสร้างสติให้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ด้านสถานที่ควรจัดให้มีแสงสว่างและน้ำภายในวัดให้เพียงพอต่อการปฏิบัติ ด้านวิปัสสนาจารย์ ผู้สอนควรแบ่งกลุ่มผู้ปฏิบัติใหม่และเก่าเพื่อให้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคลและเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติมากที่สุด ด้านการบริหารจัดการ ควรจัดแจงเวลา เนื้อหาให้เหมาะสมต่อผู้ปฏิบัติและการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ว่องไวและตรงประเด็น ควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์ในการปฏิบัติธรรมทุกครั้ง ด้านฐานวิถีชีวิตใหม่ ควรมีอุปกรณ์สื่อสารเทคโนโลยีที่เพียงพอต่อการปฏิบัติและฝึกให้ผู้ปฏิบัติเกิดความชำนาญในการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี

References

กองพุทธศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น 2553,

(กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2553), หน้า 2.

ณอภัย พวงมะลิ, “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่ ของ

ศูนย์ปฏิบัติ วิปัสสนา กรรมฐานวัดถ้ำพระผาคอก อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย”,วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2561), บทคัดย่อ.

นภาพัทธ์ งามบุษบงโสภิน และคณะ, “พุทธวิธีเพื่อการดูแลตนเองในสถานการณ์โควิด 19”, วิทยานิพนธ์

ศิลปะ ศาสตร์หาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563), บทคัดย่อ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น, (กรุงเทพฯ:พิมพ์สวย, 2554), หน้า

พระพุฒินาท ทรงสมบัติชัย และ คณะ, “ผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแนวสติปัฏฐาน 4 ต่อความฉลาดทางอารมณ์ ด้านการตระหนักรู้ตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2553, บทคัดย่อ.

พระครูวิจิตรธรรมวิภัช, “การพัฒนาการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด

ประจวบคีรีขันธ์” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลง

กรณราชวิทยาลัย, 2561), บทคัดย่อ.

พระครูวิจิตรธรรมวิภัช, “การพัฒนาการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด

ประจวบคีรีขันธ์”วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ

ราชวิทยาลัย, 2561), บทคัดย่อ.

แม่ชีเณรัชฌา ศักดิ์สิริสัมพันธ์ และคณะ, “พุทธวิธีบริหารเพื่อการพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรม”, วิทยานิพนธ์พุทธ

ศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555), บทคัดย่อ.

สุมนา เลียบทวี, “การเจริญวิปัสสนาตามแนวทางสติปัฏฐาน 4 ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านพฤติกรรมและ

อารมณ์ของมนุษย์ กรณีศึกษาหลักสูตรวิปัสสนาเบื้องต้น ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระ

บรมราชูปถัมภ์”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2564), บทคัดย่อ.

สุมนา เลียบทวี, “การเจริญวิปัสสนาตามแนวทางสติปัฏฐาน 4 ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านพฤติกรรมและ

อารมณ์ของมนุษย์ กรณีศึกษาหลักสูตรวิปัสสนาเบื้องต้น ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระ

บรมราชูปถัมภ์”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2564), บทคัดย่อ.)

อุทัย สุดสุข และคณะ, โครงการศึกษาสถานการณ์ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความต้องการ

และคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุ, (กรุงเทพมหานคร: สมาคมคลังปัญญา อาวุโสแห่งประเทศไทย, 2552), หน้า 9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31