แจ้งเปลี่ยนแปลงการเขียนบรรณานุกรม

08.01.2020

ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน

  1. เป็นบทความวิจัย และ บทความวิชาการ ที่มีคุณค่าทางวิชาการ ส่งเสริมให้เกิดการศึกษาค้นคว้าในทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การส่งเสริมธรรมาภิบาล การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี กระบวนการยุติธรรม/อาชญาวิทยา คุณธรรม/จริยธรรม หรือเรื่องอื่นที่เกี่ยวกับผู้ตรวจการแผ่นดิน
  2. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์
  3. เป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน หรือไม่อยู่ระหว่างการเสนอขอลงพิมพ์ในวารสาร/สิ่งพิมพ์อื่น เว้นแต่เป็นการเรียบเรียงขึ้นใหม่
  4. เนื้อหาต้นฉบับ (ภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ) มีความยาว 10-20 หน้าพิมพ์ (กระดาษพิมพ์ดีด
    ขนาด A4) ต้นฉบับพิมพ์ด้วยโปรแกรม MS-Words for Windows อักษรภาษาไทย/ภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วย TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร ดังนี้ ชื่อเรื่องมีขนาดอักษร 18/ตัวหนา ชื่อผู้นิพนธ์
    มีขนาดอักษร 14/ปกติ ชื่อสังกัดมีขนาดอักษร 12/ปกติ เนื้อหาส่วนอื่นมีขนาด 16/ปกติ พิมพ์หน้าเดียวแบบ 1 คอลัมน์ กั้นหน้าและกั้นหลัง 3.17 ซ.ม. กั้นหัวและท้ายกระดาษ 2.50 ซ.ม.
  5. ในกรณีบทความผู้นิพนธ์ที่เสนอเข้ามาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฯ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย หรือได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานใด ให้ทำเชิงอรรถท้ายหน้า (Footnote) ของหน้าแรก
  6. ส่วนประกอบของบทความวิจัย
  • ชื่อเรื่อง (Title) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 
  • ชื่อผู้นิพนธ์และสังกัด (Author & by-line) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ชื่อสถานที่ทำงาน/ติดต่อ/โทรศัพท์ที่ทำงาน/โทรศัพท์มือถือ/โทรสาร และ Email address) โดยทำเชิงอรรถท้ายหน้า (Footnote) ของหน้าแรก
  • บทคัดย่อ (Abstract) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นเรียงความย่อหน้าเดียว
    ที่มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ มีสาระโดยสังเขปประกอบด้วย วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการวิจัย (Materials and Methods) การวิเคราะห์สรุปผล (Results Conclusion) และข้อเสนอแนะที่สำคัญ (Recommendations) พอสังเขป ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ
  • บทนำ (Introduction) ให้ข้อมูลและประเด็นสำคัญทางวิชาการรวมทั้งวัตถุประสงค์ของงานวิจัยสมมติฐาน ขอบเขตของการศึกษา วิธีการศึกษา นิยามศัพท์ ประโยชน์
    ที่คาดว่าจะได้รับ พอสังเขป
  • วิธีดำเนินการวิจัย (Materials and Methods) กล่าวถึงการออกแบบกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยเรียบเรียงตามลำดับขั้นตอน พอสังเขป
  • ผลการวิจัย (Result) รายงานและอธิบายผลที่สำคัญที่เป็นจริง มีตารางหรือภาพประกอบตามความจำเป็นและเหมาะสม
  • สรุปและอภิปรายผล (Discussion) นำประเด็นที่สำคัญของผลของการวิจัยมาศึกษาอธิบาย วิเคราะห์ตามลำดับการเสนอว่าเหมือนหรือแตกต่างจากผลการศึกษาของผู้อื่นอย่างไร โดยมีหลักฐานอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ การนำผลมาประยุกต์ใช้ รวมทั้งข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยในครั้งต่อไป
  • หากมีการอธิบายขยายความของเนื้อหาในเนื้อเรื่องให้ใช้เชิงอรรถท้ายหน้า (Footnote)
  • การอ้างอิงและบรรณานุกรมต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับบรรณานุกรมท้ายเรื่อง
  1. ส่วนประกอบของบทความวิชาการ
  • ชื่อเรื่อง (Title) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้เขียนและสังกัด (Author & by-line) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ชื่อสถานที่ทำงาน/ติดต่อ/โทรศัพท์ที่ทำงาน/โทรศัพท์มือถือ/โทรสาร และ E-mail address) โดยทำเชิงอรรถท้ายหน้า (Footnote) ของหน้าแรก
  • บทคัดย่อ (Abstract) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นเรียงความย่อหน้าเดียว
    ที่มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ พอสังเขป ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ
  • บทนำ (Introduction) ให้ข้อมูลและประเด็นสำคัญทางวิชาการ รวมทั้งวัตถุประสงค์ของเรื่องนั้น ๆ
  • เนื้อหา (Body)
  • สรุป (Conclusion)
  • หากมีการอธิบายขยายความของเนื้อหาในเนื้อเรื่อง ให้ใช้เชิงอรรถท้ายหน้า (Footnote)
  • การอ้างอิงและบรรณานุกรมต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับบรรณานุกรมท้ายเรื่อง
  1. การอ้างอิงแบบระบบนามปีแทรกในเนื้อหามีรูปแบบ ดังนี้

(ชื่อ-ชื่อสกุลผู้แต่ง,//ปีที่พิมพ์,//หน้าที่ใช้อ้างอิง) หรือ

(ชื่อผู้แต่งที่เป็นนิติบุคคล,//ปีที่พิมพ์,//หน้าที่ใช้อ้างอิง)

  • การอ้างอิงเอกสารที่มีผู้แต่งคนเดียว

ผู้แต่งชาวไทย ตัวอย่าง (ประเวศ วะสี, 2541, หน้า100) หรือ ประเวศ วะสี (2541, หน้า100)

ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ใส่เฉพาะชื่อสกุล ตัวอย่าง (Jensen, 1991, pp.8)

  • การอ้างอิงเอกสารที่มีผู้แต่ง 2 คน

ใช้คำว่า “และ” คั่นระหว่างชื่อผู้แต่งทั้งสองคนในภาษาไทย ตัวอย่าง (มิ่งสรรพ์
ขาวสะอาด และ อัครพงศ์ อั้นทอง,  2549,  หน้า10)

ใช้คำว่า “and” หรือ “&” คั่นระหว่างชื่อผู้แต่งทั้งสองคนในภาษาอังกฤษ

ตัวอย่าง (Samit & Miller, 1997, pp.50) (Samit and Miller, 1997, pp.50)

  • การอ้างอิงเอกสารที่มีผู้แต่ง 3-5 คน

ใส่ชื่อผู้แต่งคนที่ 1 คั่นด้วยเครื่องหมาย (,) ตามด้วยชื่อผู้แต่งคนที่ 2 ไปเรื่อย ๆ และ ก่อนหน้าชื่อผู้แต่งคนสุดท้ายให้ใช้เครื่องหมาย (&) หรือคำว่า “และ” “and” ก็ได้ ตัวอย่าง

(สุวัฒนา วิบูลย์เศรษฐ์, เกื้อ วงศ์บุญสิน, & วิพรรณ ประจวบเหมาะ รูฟโฟโล, 2500, หน้า125)

  • การอ้างอิงเอกสารที่มีผู้แต่ง 6 คน หรือมากกว่า

ใส่ชื่อเฉพาะผู้แต่งคนแรก และตามด้วยคำว่า “และคณะ” หรือ “et al.”

ตัวอย่าง

(อุบล บุญชู และคณะ, 2555, หน้า158)  (Tarantola, et al., 1998, pp.99)

  1. รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมท้ายบทความ
  • การอ้างอิงจากหนังสือ

ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ./ครั้งที่พิมพ์.//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

เสน่ห์ จามริก.  (2540).  การเมืองไทยกับการพัฒนารัฐธรรมนูญ. พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

Nafziger, E.W.  (1977).  The economics of developing countries. 3rd  London: Prentice-Hall International.

  • การอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์

ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์./ระดับวิทยานิพนธ์ ชื่อสาขาวิชาหรือภาควิชา ชื่อคณะ ชื่อมหาวิทยาลัย.

ตัวอย่าง

         อนุสรณ์ อุณโณ.  (2541).  วิสามัญฆาตกรรมและการลงทัณฑ์ในสังคมไทย.

         วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

         Boonmathaya, R.  (1997).  Contested concepts of development in rural northeastern Thailand. Ph.D. Dissertation, Department  of Anthropology, University of Washington, U.S.A.

  • การอ้างอิงจากบทความในหนังสือ

ชื่อผู้เขียนบทความ.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ./ ใน ชื่อบรรณาธิการ

          (บรรณาธิการ). ชื่อหนังสือ./(หน้า-)./ครั้งที่พิมพ์.สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

          อุกฤษณ์ แพทย์น้อย.  (2530).  หลักการที่แท้จริงของทฤษฎีสัญญาประชาคม. ใน ธนศ วงศ์ยานนาวา (บรรณาธิการ). รัฐศาสตร์: ปรัชญาและความคิด. (หน้า57-59). กรุงเทพฯ:  อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊พ.

          Ngo, N.V.  (1988).  Some aspects of cooperation in the Mekong delta. In D.G. Marr & C.P. White (Eds.). Postwar Vietnam: Dilemmas in socialist development. (pp.163-173). NY: Cornel University,  Southeast Asia Program.

  • การอ้างอิงจากบทความในวารสาร

ชื่อผู้เขียนบทความ.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.

ตัวอย่าง

          เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม.  (2549).  แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศไทย. วารสารราชบัณฑิตยสถาน,31(4), 1140-1149.

  • การอ้างอิงจากการสัมภาษณ์

ชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์.//(วัน เดือน ปีที่สัมภาษณ์).//สัมภาษณ์./ตำแหน่ง(ถ้ามี)./หน่วยงานที่สัดกัดหรือที่อยู่.

ตัวอย่าง

สมควร ดีประเสริฐ.  (20 สิงหาคม 2558).  สัมภาษณ์. ราษฎร. หมู่บ้านโนนม่วง ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น.

Skoonchai, S. (2017, August 8). Interview. President. Khon Khen University.

  • การอ้างอิงข้อมูลหรือเอกสารจากอินเทอร์เน็ต

ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่เผยแพร่).//ชื่อเรื่อง//ค้นเมื่อ วัน เดือน ปีที่ค้น, จาก URL.

ตัวอย่าง

          ราชกิจจานุเบกษา.  (2542).  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2559. จาก http://www.moe.go.th/main2/plan/ p-r-b42-01.htm

          Alavi, Maryam.  (2000).  Knowledge Management and Knowledge Systems. ICIS’97. Retrieved September 8, 2016,  from  http://www.mbs.edu/is/malavi/icis-97-kms/sld011.htm.>

  1. การพิจารณารับบทความ
  • กองบรรณาธิการพิจารณาในเบื้องต้นเกี่ยวกับขอบเขตและความเหมาะสมของเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ของวารสาร ตลอดจนรูปแบบการพิมพ์ตามข้อกำหนด
  • ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกอ่านประเมินเนื้อหาของบทความเพื่อควบคุมคุณภาพ
    ทางวิชาการ จำนวนอย่างน้อย 2 คน/บทความ ด้วยวิธีการประเมินแบบ Double Blinded ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Thaijo20 โดยผู้นิพนธ์จะต้องแก้ไขบทความตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการ
  • กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ไม่พิจารณาคัดเลือกบทความที่ผู้นิพนธ์มิได้แก้ไขปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการและผลการวินิจฉัยของกองบรรณาธิการถือเป็นที่สุด
  • ผู้นิพนธ์บทความที่ได้รับการคัดเลือกให้ลงพิมพ์ในวารสารผู้ตรวจการแผ่นดินจะได้รับวารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน ฉบับที่นำบทความลงตีพิมพ์ จำนวน 2 เล่ม หนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความ และค่าตอบแทนตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินกำหนด
  • เนื้อหา หรือ ข้อความในบทความถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัวและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
  1. กองบรรณาธิการวารสารผู้ตรวจการแผ่นดินขอสงวนสิทธิ์ในการรับบทความที่ส่งผ่านระบบส่งบทความออนไลน์ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/ombudsman โดยดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://ombsombudsman.go.th (หัวข้อ “วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน”)
  2. สถานที่ติดต่อ สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินศึกษา สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน 120 หมู่ 3 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 โทรศัพท์ 0 2141 9146 Email: anyapatch@ombudsman.go.th

***************************