ผู้ตรวจการแผ่นดิน: บทบาทใหม่ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

Authors

  • มีชัย ฤชุพันธุ์

Abstract

  สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีการปรับเปลี่ยนบทบัญญัติของผู้ตรวจการแผ่นดินให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น แรกเริ่มในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่าผู้ตรวจการแผ่นดินควรมีจำนวน 1 คน เพื่อความคล่องตัวแต่เมือพิจารณาในชั้นสภานินิบัญญัติแห่งชาติมีความกังวลในเรื่องของปริมาณงานที่อาจจะมีมากเกินไป จึงได้เพิ่มจำนวนผู้ตรวจการแผ่นดินเป็น 3 คน และได้กำหนดคุณสมบัติเฉพาะ คุณสมบัติทั่วไป รวมถึงกำหนดอำนาจหน้าที่ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินไว้ แต่ในการทำหน้าที่ การใช้อำนาจนั้น ในบางเรื่องจำเป็นต้องหารือร่วมกัน ซึ่งได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าในกรณีใดที่ผู้ตรวจการแผ่นดินปรึกษาหารือ และเห็นชอบร่วมกัน หมายความว่าผู้ตรวจการแผ่นดินแต่ละคนต้องปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบร่วมกันแต่มีอิสระซึ่งกันและกัน

           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มุ่งเน้นให้ผู้ตรวจการแผ่นดินแก้ไขทุกข์ร้อนของประชาชนในภาพรวมมากกว่าที่จะแก้ไขทุกข์ร้อนรายบุคคลแต่ไม่ได้หมายความว่าไม่สนใจทุกข์ร้อนของประชาชนเฉพาะราย เพื่อให้ก่อเกิดประโยชน์ต่อสารธารณะให้ประชาชนได้รับความสะดวก ความรวดเร็ว ไม่เกิดการถูกข่มเหง ไม่ถูกลิดรอนสิทธิโดยเกินกว่าที่ควรจะเป็น และจะก่อนเกิดความคุ้มค่าในการทำงาน หน้าที่อีกประการหนึ่งของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ถือเป็นหน้าที่ใหม่ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินต้องทำ คือ หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ที่อยู่ในขีดความสามารถจะทำได้และพึงต้องทำต่อประชาชน คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่าผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเหมาะสมที่สุดที่จะดูแลว่ามีประชาชนเดือดร้อนจากที่หน่วยงานของรัฐหน่วยใดบ้างที่ไม่ปฏิบัติตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ......

Downloads

Published

18.01.2019

How to Cite

ฤชุพันธุ์ ม. (2019). ผู้ตรวจการแผ่นดิน: บทบาทใหม่ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. Journal of Thai Ombudsman, 11(1), 9–25. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ombudsman/article/view/167089

Issue

Section

Articles