แนวทางการจัดการวิสาหกิจชุมชน: ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์สาธิตการเกษตรร้านค้าชุมชน ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
การจัดการ, วิสาหกิจชุมชน, ศูนย์สาธิตการเกษตรร้านค้าชุมชน, จังหวัดกาญจนบุรีบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการวิสาหกิจชุมชนศูนย์สาธิตการเกษตรร้านค้าชุมชน ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 2) ระบุปัญหาอุปสรรคในการจัดการวิสาหกิจชุมชน และ 3) นำเสนอแนวทางการจัดการวิสาหกิจชุมชนให้มีความมั่นคงและยั่งยืน
วิธีดำเนินการวิจัย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบกรณีศึกษา โดยศึกษาจากเอกสารหลักฐานการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ 1) คณะกรรมการวิสาหกิจชุมชน 2) คณะกรรมการบริหารร้านค้า 3) สมาชิกรายย่อยของวิสาหกิจชุมชน 4) กลุ่มชุมชนที่เป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 5) โรงเรียนที่เป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชน และ 6) เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น จำนวน 28 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัย
ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการด้านต่าง ๆ ได้แก่ (1) ด้านการเงิน กลุ่มมีเงินทุนของตนเอง ไม่ได้พึ่งเงินกู้จากแหล่งภายนอก และสมาชิกกลุ่มมีหนี้สินลดลงหรือไม่มีหนี้สิน (2) ด้านการผลิต กลุ่มสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ โดยเน้นการผลิตแบบอินทรีย์ (3) ด้านการตลาด กลุ่มมีการวางแผนการตลาด สำรวจความต้องการของลูกค้า โดยพิจารณาจากค่านิยมในการบริโภค วัฒนธรรม ประเพณี เทศกาลที่จัดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาเป็นสำคัญ (4) ด้านการบริหารกลุ่ม มีผู้นำที่ดี มีความเสียสละ มุ่งมั่น มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า (5) ด้านแรงงาน สมาชิกกลุ่มมีทักษะความเชี่ยวชาญ มีทัศนคติที่ดี รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของร่วมกัน และ (6) ด้านการประสานความร่วมมือ กลุ่มมีการประสานงานอย่างต่อเนื่องระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ รวมถึงมีการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน เพื่อขยายกำลังการผลิตและขยายโอกาสต่าง ๆ 2) ปัญหาอุปสรรค (1) ด้านการผลิต ไม่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต สินค้าที่วางขายส่วนใหญ่ไม่ได้ผ่านการแปรรูปหรือพัฒนาใด ๆ ทำให้สินค้าไม่น่าดึงดูดใจ บรรจุภัณฑ์ขาดเอกลักษณ์และความทันสมัย (2) ด้านการตลาดสถานที่จัดจำหน่ายสินค้าไม่สวยงาม ไม่โดดเด่น ไม่มีเอกลักษณ์ และ (3) ด้านการบริหารกลุ่ม ไม่มีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ เป็นต้น และ
3) แนวทางการจัดการวิสาหกิจชุมชนให้มีความมั่นคงและยั่งยืน ได้แก่ การพัฒนาสร้างผลิตภัณฑ์
สร้างมาตรฐาน พัฒนาบรรจุภัณฑ์ พัฒนาตราสัญลักษณ์ใช้โลโก้เดียวกันทั้งหมด พัฒนาระบบโปรแกรม
ที่สามารถเชื่อมโยงการผลิตและการขายได้ทั้งระบบ เพิ่มบทบาทใหม่เป็นศูนย์กระจายสินค้าระดับอำเภอและจังหวัด ทำตลาดสินค้าออนไลน์ ปรับปรุงสถานที่จำหน่ายสินค้าให้มีเอกลักษณ์ จัดการความรู้ให้เป็นระบบ ปลูกฝัง ปรับอุปนิสัย พฤติกรรมการบริการ และเพิ่มทักษะในการทำงานเป็นทีม รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกในตำบลท่าเสาทั้ง 11 หมู่ ตลอดจนผลักดันให้ทุกตำบลจดจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างระบบเครือข่ายเชื่อมโยงทั้งหมด
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารผู้ตรวจการแผ่นดินถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารผู้ตรวจการแผ่นดินถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารฯ ก่อนเท่านั้น