แนวทางในการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการลาคลอดของลูกจ้างหญิง

ผู้แต่ง

  • พรเพ็ญ ไตรพงษ์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จิรกิตติ์ ภัสสรภาคภูมิ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาควิชาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

กฎหมายแรงงาน, ลูกจ้างหญิง, ลูกจ้างหญิงมีครรภ์, สิทธิการลาคลอด

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษาทางออกที่เหมาะสมเกี่ยวกับสิทธิการลาคลอดของลูกจ้างหญิง ซึ่งสิทธิการลาคลอดของลูกจ้างได้มีการบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2542 และได้มีการแก้ไขเรื่องการลาคลอดบุตรที่ได้เพิ่มวันลาคลอดเป็น 98 วัน ไว้ในการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 7 ซึ่งเมื่อได้ศึกษาถึงกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิการลาคลอดและแนวทางที่เหมาะสมในการลาคลอดทางการแพทย์แล้วเห็นว่าควรมีการเพิ่มเวลาการลาคลอดเป็น 180 วัน จึงจะถือว่าเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม และเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากลขององค์กรอนามัยโลกและกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติที่กำหนดให้บุตรควรได้รับนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือน ซึ่งถ้าหากได้มีการแก้ไขวันลาคลอดก็จะเท่ากับ 180 วัน เพราะช่วงเวลานี้นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ทำให้มารดาและบุตรมีสายสัมพันธ์ระหว่างกัน และเมื่อพิจารณาถึงสถิติการเกิดของประชากรในประเทศไทยแล้วนั้น ถือได้ว่ามีอัตราการเกิดของทารกมีอัตราที่น้อยลงมากเมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ หน้า

          ด้วยเหตุนี้เองผู้เขียนเห็นว่ารัฐควรมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนอยากมีบุตรมากขึ้น โดยการเพิ่มระยะเวลาการลาคลอดเป็น 180 วัน จากเดิม 98 วัน การเพิ่มสถานที่ในการให้นมบุตรในแต่ละสถานประกอบการ รวมถึงให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่นายจ้าง เพื่อให้นายจ้างมีแรงจูงใจในการจ้างลูกจ้างหญิงมีครรภ์ เพื่อสร้างทางออกร่วมกันระหว่างรัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างให้บุตรที่คลอดออกมามีพัฒนาการที่ดี มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี สามารถเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพในการทำงาน และเพื่อเพิ่มจำนวนแรงงานในตลาดแรงงานให้เพียงพอต่อการทำงานอีกด้วย

References

Cabinet Secretariat. (2019). kotmāi samkhan thī prakāt nai Rātchakitčhānubēksā (15 November 2023). Retrieved from https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/043/T_0021.PDF

Chutima sittiprapa. (2022). māttrakān thāng kotmāi khumkhrō̜ng lūkčhāng māndā raya lang khlō̜t. (LL.M. Faculty of Law, National Institute of Development Administration)

Kasemsan Vilawan. (2005). chīwit lūkčhāng kap kotmāi rǣngngān. Bangkok: Winyuchaon.

Ministry of Labor (2019). kham chīčhǣng krasūang rǣngngān rư̄ang lā phư̄a khlō̜t but (3 November 2023). Retrieved from https://welfare.labour.go.th/attachments/article/31/คำชี้แจงกระทรวง แรงงานเรื่องลาเพื่อคลอดบุตร.pdf.

Natsuda Phakham. (2023). lā khlō̜t nưngrō̜ipǣtsip wan khwām yungyāk čhai khō̜ng nāičhāng khwām lambāk khō̜ng phūying læ sangkhom thī tit lom chāi pen yai (15 November 2023). Retrieved from https://www.thecoverage.info/news/content/5053,

Pallong Mundee. (2019). kānkhumkhrō̜ng dūlǣ but khō̜ng lūkčhāng kō̜n læ lang khlō̜t Dunlaphaha: Journal of The Court of Justice, 2019, 1, 90-106.

Sirirat Siriyuwasamai. (2018). māttrakān thāng kotmāi phư̄a khumkhrō̜ng khwāmpenmā radā hai sō̜tkhlō̜ng kap ʻanusanyā ʻongkān rǣngngān rawāng prathēt. (LL.M. Faculty of Law, Thammasat University).

Strategy and planning division of Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. (2002). sathiti sāthāranasuk (5 November 2023). Retrieved from https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2023/11/Hstatistic65.pdf

Sukhothai Thammathirat University. (2012). ʻēkkasān kānsō̜n chut wichā kotmāi rǣngngān nūai thī nưng - čhet. Bangkok: Sukhothai Thammathirat University.

The Secretariat of The House of Representatives. (2018). kham khwāmmungmāi læ khamʻathibāi prakō̜p rāi māttrā khō̜ng ratthammanūn hǣng rātchaʻānāčhak Thai Phutthasakkarāt sō̜ngphanhārō̜ihoksip (8 November 2023). Retrieved from https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/253/files/article_20191021103453.Pdf,

Vichai Thosuwanjinda. (2003). khamʻathibāi bǣp čho̜ lưk phrarātchabanyat khumkhrō̜ng rǣngngān Phō̜.Sō̜. 2541. Bangkok: Nititham.

Vijitra Fungladda Wichianchom. (2010). yō̜ ʻaha lak kotmāi rǣngngān. Bangkok: Nititham.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25.06.2024

How to Cite

ไตรพงษ์ พ., & ภัสสรภาคภูมิ จ. (2024). แนวทางในการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการลาคลอดของลูกจ้างหญิง. ผู้ตรวจการแผ่นดิน, 17(1), 65–85. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ombudsman/article/view/270247

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ