หลักประกันการได้รับจัดสรรงบประมาณตามบทบัญญัติมาตรา 141 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ศึกษาเฉพาะกรณีของศาลรัฐธรรมนูญ
คำสำคัญ:
ศาลรัฐธรรมนูญ, ความเป็นอิสระทางงบประมาณ, สัดส่วนความเหมาะสมของงบประมาณบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมเกี่ยวกับการได้รับจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอและอิสระต่อการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติ มาตรา 141 วรรคสองแห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 กรณีของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการโดยมีสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการที่มีเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่นใหกับศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ในแง่ ของการงบประมาณ หากวิเคราะห์หลักการของวิธีการจัดสรรงบประมาณของรัฐแล้วยังคงใช้วิธีการงบประมาณเฉกเช่นเดียวกันกับหน่วยงานของรัฐอื่นทั่วไปซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายงบประมาณที่เป็นกฎหมายกลางฉบับเดียวกับที่ผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร พิจารณาจัดสรรให้ตามกฎหมายและวิธีการงบประมาณ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ผู้เขียนจึงเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญนั้นเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการควรมีแนวทางมาตรการทางกฎหมายอันเกี่ยวกับการได้รับจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมเพียงพอและอิสระต่อการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บรรลุผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนในแง่การสร้างหลักประกันที่อิสระทางงบประมาณตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่รับรองไว้ จึงได้มีข้อเสนอแนะเป็นมาตรการทางกฎหมายประกอบด้วยหลักการ 4 ประการ ดังนี้
(1) การจัดทำงบประมาณมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งถือเป็นกระบวนการต้นน้ำดังคำสุภาษิตที่ได้กล่าวไว้ว่า “รากฐานมีความสำคัญ ซึ่งหากปราศจากฐานรากที่แข็งแรงแล้ว ก็จะไม่สามารถยืนหยัดได้อย่างมั่นคง” โดยในทางปฏิบัติแล้วกระบวนการต้นน้ำทางงบประมาณควรจะต้องมีสภาพบังคับทางกฎหมายอันเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการของกระบวนการในการขอรับและการจัดสรรงบประมาณของศาลรัฐธรรมนูญโดยจะต้องมีการกำหนดสัดส่วนของตัวเลขงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามอัตราภาวะเงินเฟ้อไม่เกินร้อยละ 1.25 และให้นำฐานข้อมูลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณย้อนหลัง 3 ปีที่ผ่านมาเพื่อประกอบการพิจารณา
(2) การจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือทางด้านระบบงบประมาณที่เป็นอิสระตามหลักวินัยการเงินการคลังของรัฐที่ดี ระหว่าง สำนักงบประมาณ กับ ศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงาน
ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 141 วรรคสอง อันได้แก่ รัฐสภา ศาล องค์กรอิสระ หรือองค์กรอัยการ เพื่อให้มีกระบวนงานของวิธีการทางงบประมาณมีสัดส่วนที่เหมาะสมพอเพียงกับบริบทของหน่วยงาน ดำรงไว้ซึ่งหลักความเป็นอิสระทางงบประมาณ
(3) การแก้ไขกฎหมายวิธีการงบประมาณในหมวดของการจัดสรรงบประมาณให้กับองค์กรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 141 วรรคสอง อันได้แก่ รัฐสภา ศาล องค์กรอิสระ หรือองค์กรอัยการ เพื่อมีวิธีการทางงบประมาณที่นำมาใช้บังคับเป็นการเฉพาะตนร่วมกัน และเป็นการสร้างมาตรการทางกฎหมายให้มีหลักประกันอิสระทางงบประมาณ ตลอดจนการรองรับอำนาจของคณะกรรมาธิการในการพิจารณาคำขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการโดยตรงให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
(4) การกำหนดสถานะของกฎหมายกรณีเงินงบประมาณเหลือจ่ายของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสอดคล้องกับหลักวินัยการเงินการคลังของรัฐที่ดี
References
นันทนิตย์ นวลมณี. (2550). เอกสารวิชาการหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของระบบงบประมาณ. ครั้งที่ 1 กลุ่มงานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี สำนักกรรมาธิการ 1 : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2563). ความรู้เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ. (3). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน.
บุญเสริม นาคาสาร และ นิติกร จิรฐิติกรกิจ. (2023). ศาลรัฐธรรมนูญในรัฐประชาธิปไตยเสรีในศตวรรษที่ 21 การประชุมวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี การสถาปนาศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.กรุงเทพ ฯ : สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
ปวริศร เลิศธรรมเทวี. (2564). การจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระของรัฐสภา ศาล และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, ปีที่ 19 (2), 89.
ปัญญา อุดชาชน. (2560). การพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมของศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2566. จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2566. จาก. https://www.ratchakitcha.soc.go.th /DATA/PDF/2561/A/012/1.PDF.
สุปรียา แก้วละเอียด. (2565). กฎหมายการคลัง ภาคงบประมาณแผ่นดิน. ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือกฎหมายวิญญูชน.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (หน้า 168). ครั้งที่ 1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2556). (รายงานผลการศึกษาดูงานศาลรัฐธรรมนูญ.) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีระหว่างวันที่ 1 - 9 มิถุนายน 2556. (หน้า 15.)
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2564). (พิจารณาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 144 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560) (หน้า 36.)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารผู้ตรวจการแผ่นดินถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารผู้ตรวจการแผ่นดินถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารฯ ก่อนเท่านั้น