อวยพร เขื่อนแก้ว. ปาฐกถามูลนิธิโกมลคีมทองประจำปี 2551 ครั้งที่ 34: “วิถีทางจิตวิญญาณสู่การทำงานเพื่อผู้หญิงและชนกลุ่มน้อย". กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2552.

Main Article Content

อริสา สุมามาลย์ (Arisa Sumamal)

Abstract

พุทธศาสนานั้นโดยทั่วไปมักถูกมองเป็นเรื่องการพัฒนาความสงบเย็นภายในบุคคล และถูกแยกออกจากประเด็นโครงสร้างสังคม ความไม่เท่าเทียม และความรุนแรง แต่หนังสือเล่มนี้ซึ่งร้อยเรียงขึ้นจากเนื้อหาในงานปาฐกถามูลนิธิโกมคีมทอง ประจำปี 2551 ในหัวข้อ “วิถีทางจิตวิญญาณสู่การทำงานเพื่อผู้หญิงและชนกลุ่มน้อย” และมีปาฐกคือคุณอวยพร เขื่อนแก้ว จะแสดงให้เห็นว่ากระบวนการทำงานเพื่อฟื้นฟูเยียวยาผู้ทุกข์ยาก ให้ลุกขึ้นมาเห็นศักยภาพของตนเองและทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย โดยใช้ทั้งมิติทางจิตวิญญาณ ปัจจัยทางโครงสร้างสังคม และประเด็นเรื่องของเพศสภาวะ (gender) มาผสมผสานเชื่อมโยงกันนั้นเป็นไปได้ และเป็นแง่มุมที่ส่งเสริมกันและกันอย่างยิ่ง บทปริทัศน์หนังสือนี้จะขอกล่าวสรุปถึงแนวคิดและกระบวนการฝึกอบรมที่คุณอวยพร เขื่อนแก้วใช้สร้างการเรียนรู้กับกลุ่มผู้หญิง ชนกลุ่มน้อย และนักกิจกรรมสังคม รวมทั้งมุมมองของผู้ปริทัศน์หนังสือต่อประโยชน์ที่จะได้รับจากการอ่าน

Article Details

How to Cite
สุมามาลย์ (Arisa Sumamal) อ. (2019). อวยพร เขื่อนแก้ว. ปาฐกถามูลนิธิโกมลคีมทองประจำปี 2551 ครั้งที่ 34: “วิถีทางจิตวิญญาณสู่การทำงานเพื่อผู้หญิงและชนกลุ่มน้อย". กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2552. Journal of the Philosophy and Religion Society of Thailand, 14(1). Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/parst/article/view/217345
Section
Book Reviews