“ ‘เพียงแค่ข้อเท็จจริง’ ” (“ ’Just the Facts’ ”)
Main Article Content
Abstract
ส่วนที่ 1 ของบทความนี้พิจารณารากศัพท์ของคำว่า "ข้อเท็จจริง" รวมถึงพิจารณาว่ามีการใช้คำว่า "ข้อเท็จจริง" ที่เป็นมาตรฐานหรือไม่ คำถามที่ว่า "อะไรคือความหมายของคำว่า "ข้อเท็จจริง" ไม่สามารถตอบได้อย่างได้ข้อสรุปโดยอาศัยภาษาสามัญ เพระว่าไม่มีข้อตกลงร่วมกันระหว่างนักพจนานุกรม กระนั้นแล้วก็ยังมีคำถามที่คงสามารถถกเถียงกันได้ว่าแนวทางการใช้ภาษาร่วมกันควรจะเป็นที่ยอมรับว่ามีความเพียงพอสำหรับทฤษฎีทางปรัชญาเกี่ยวกับ "ข้อเท็จจริง" หรือไม่ ส่วนที่ 2 เริ่มจากความเห็นที่ว่าในภววิทยาของรัสเซลในช่วงปรมณูนิยม เขาแยกระหว่าง "ข้อเท็จจริงเชิงปฏิฐาน” และ "ข้อเท็จจริงเชิงนิเสธ” อย่างไรก็ตาม รัสเซลยังคงยืนยันเช่นนั้นเพราะเขาต้องการอธิบายความผิดพลาดและเชื่อว่าการยึดถือว่ามี "ข้อเท็จจริงเชิงนิเสธ” จะช่วยได้ แรมซีพยายามแก้ปัญหานี้แต่ก็สำเร็จเพียงแค่เปลี่ยนถ่ายปัญหาไปให้เป็นเรื่องของประพจน์ นั่นเป็นเพราะว่าแรมซียืนยันว่า "ข้อเท็จจริง" มีฐานะเดียวกับ "ประพจน์ที่จริง" โดยไม่ได้ให้คำอธิบายเชิงปรัชญาเกี่ยวกับ "ประพจน์ที่จริง" วิทเกนสไตน์ให้คำอธิบายเชิงลดทอนเกี่ยวกับ "ข้อเท็จจริง" โดยยืนยันว่าข้อเท็จจริงเป็นการจัดเรียงของวัตถุซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของโลก มีข้อเสนอแนะว่าทัศนะของวิทเกนสไตน์ใน Tractatus นั้นยอมรับไม่ได้เนื่องจากข้อเท็จจริงต้องอาศัยกรอบทฤษฎีและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ไม่สามารถอยู่ในความว่างเปล่าอันไร้บริบทได้ พิทเชอร์เสนอข้อถกเถียงต่อทัศนะยุคต้นของวิทเกนสไตน์เช่นกัน โดยกล่าวว่าวิธีการแบ่งโลกเป็นส่วน ๆ ของเรานั้นเป็นไปโดยปราศจากพื้นฐานรองรับ ออสตินและสตรอว์สันได้เขียนเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ดูเหมือนว่าการอ้างเหตุผลของออสตินจะมีความสมเหตุสมผลเชิงรูปนัย แต่ยังคงทวนคำถามอยู่ และการอ้างเหตุผลของสตรอว์สันไม่สามารถสนับสนุนทัศนะที่ว่ามีความแตกต่างของประเภทพื้นฐานเชิงตรรกะระหว่างข้อเท็จจริงและสิ่งที่ดำรงอยู่ในโ,กนี้ คาร์แนป (เช่นเดียวกับดูคัสส์) กล่าวว่าเราสามารถอธิบายข้อเท็จจริงว่าเป็นสิ่งที่อ้างถึงประพจน์เชิงวัตถุวิสัยโดยไม่ต้องให้ความกระจ่างว่านี่หมายความว่าอะไร ไวท์เสนอว่าข้อเท็จจริงไม่ใช่ทั่งองค์ประกอบที่ไม่อยู่ในรูปภาษาของโลก หรือข้อความที่เป็นจริง อย่างไรก็ตาม การอ้างเหตุผลของเขาไม่ได้ข้อสรุป และยังมีความสับสนในประเด็นสำคัญข้อหนึ่ง ส่วนที่ 3 เสนอว่าความผิดพลาดร่วมกันในบรรดาการวิเคราะห์ข้างต้นซึ่งปะปนข้อเท็จจริงกับสิ่งที่ดำรงอยู่ในโลกหรือ "ประพจน์ที่จริง" ก็คือความล้มเหลวที่จะเน้นย้ำว่าข้อเท็จจริงเป็นเพียงข้อเท็จจริงภายในกรอบหนึ่ง ๆ อย่างไรก็ตาม แม้แต่ประโยคสังเกตการณ์เชิงข้อเท็จจริง (เช่น "โต๊ะตัวนี้มีสีน้ำตาล" ซึ่งพูดโดยหมายถึงโต๊ะสีน้ำตาลตัวหนึ่ง) ยังมีฐานคติถึงกรอบของภาษาที่คำของภาษานั้นแบ่งความเป็นจริงออกเป็นส่วน ๆ ในลักษณะหนึ่งแทนที่จะเป็นในอีกลักษณะ อาจแบ่งกรอบออกได้เป็นสามประเภท 1) โครงสร้างภาษา 2 โครงสร้างความเชื่อเชิงทฤษฎี 3) โครงสร้างประสบการณ์ โอเนลกล่าวถึงโครงสร้างแบบที่สองในงานเรื่อง Fact and Theory ซึ่งเขากล่าวว่าเช่นที่ทฤษฎีไม่สามารถปลอดจากข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงที่มีนัยสำคัญก็ไม่อาจปราศจากทฤษฎี
Article Details
Articles published in the journal are licensed under the CC Attribution-NonCommercial 4.0 format. Articles can be freely reused or republished provided that they are reused or republished or republished for non-commercial purposes, and that proper credit must be given to the author and the journal.