การสังเคราะห์ความแตกต่างทางแนวคิดในเรื่องความจริงสูงสุดทางศาสนาระหว่างคริสต์และพุทธให้เป็นหนึ่งเดียว: บทสนทนาระหว่าง “โพธิจิต” กับ “พระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์” ของพระผู้เป็นเจ้า
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีเป้าประสงค์ 3 ประการ ประการแรก คือ เพื่อที่จะสร้างบทสนทนาในรูปแบบบทละครขนาดสั้นในส่วนแรก และส่วนที่เหลือทั้งหมดของบทความจะเป็นอรรถาธิบายถึงบทสนทนาดังกล่าวผ่านข้อเขียนทางปรัชญา ทั้งนี้ ก็เพื่อท้าทายรูปแบบการเขียนงานวิจัยแบบจารีต และเราสามารถใช้ตรรกะอันเรียบง่ายจากบทละครแสดงข้อธรรมจาก พระคัมภีร์ ได้อันจะเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่ทำให้ภราดาทั้งหลายสามารถตอบข้อโต้แย้งของผู้เรียนในดินแดนพุทธได้เช่นกัน ประการต่อมา คือ ผู้เขียนจะสังเคราะห์ความไม่ลงรอยกันระหว่างพุทธปรัชญากับคริสต์วิทยาให้เป็นหนึ่งเดียวซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่ท้าทายที่สุดในบทความชิ้นนี้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปลายทางของคำว่า “คาทอลิก” อันมีรากศัพท์ละตินมาจากคำว่า “catholicus” ซึ่งแปลว่า “เป็นสากล” (universal) หรือ “ทำให้เป็นหนึ่งเดียว” (universalize) ที่มีนัยว่า ภายใต้ความแตกต่างหลากหลายทางอุดมการณ์นี้ เราชาวคาทอลิกจะหลอมรวมมันให้หนึ่งเดียวภายใต้ร่มเงาของพระคริสต์ ประการสุดท้าย ผู้เขียนจะเทียบเคียงศักยภาวะแห่ง “โพธิจิต” (菩提心) หรือ “พุทธจิต” (佛性) ในมหายานปรัชญากับคริสต์ปรัชญาผ่านแนวคิดว่าด้วย “พระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์” (the Holy Spirit) ของพระผู้เป็นเจ้าที่ปรากฏผ่าน “เจตจำนงเสรี” (free will) ของมนุษย์ และกลายเป็น “เสรีภาพ” ของมนุษย์เอง ศาสนิกชนของทั้งสองศาสนาต่างบรรลุได้ก็เป็นเพราะว่า “โพธิจิต” และ “พระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์” ที่พระยาห์เวห์ประทานมาให้ล้วนเป็นความรู้ก่อนประสบการณ์ของเรา (a priori knowledge) นั่นเอง ผู้เขียนยังจะแสดงให้เห็นด้วยว่า “พระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์” ของพระผู้เป็นเจ้าที่ปรากฏผ่าน “เจตจำนงเสรี” ของมนุษย์เป็นประโยชน์ต่อการสอน พระคริสตธรรมคัมภีร์ ในแนวใหม่ซึ่งมักจะถูกละเลยไปในสังคมไทย เพราะเหล่าภราดาทั้งหลายต่างหมกมุ่นอยู่กับเรื่องเล่าเชิงปกรณัมใน พระคัมภีร์ มากกว่าข้อคิดของอรรถกถาจารย์ในยุคกลาง 3 ท่าน ได้แก่ นักบุญออกัสติน (Saint Augustine 354-430) นักบุญโทมัส อไควนัส (Saint Thomas Aquinas ประมาณ 1225-7 ถึง 1274) และจอห์น ดันส์ สโคตุส (John Duns Scotus ประมาณ 1265-68 ถึง 1308) ทั้งนี้ ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า คริสต์ศาสนาไม่ใช่ศาสนาที่จะเข้าถึงผ่านศรัทธาอย่างง่าย ๆ เท่านั้น แต่คือการประจักษ์และหยั่งรู้ในเหตุผลนิยมของตัวเราเองซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกับเสรีภาพที่พระผู้เป็นเจ้าประทานมาให้
Article Details
Articles published in the journal are licensed under the CC Attribution-NonCommercial 4.0 format. Articles can be freely reused or republished provided that they are reused or republished or republished for non-commercial purposes, and that proper credit must be given to the author and the journal.