ปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร เทศบาลเมืองจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ณรงค์เดช โกรัตนะ

บทคัดย่อ

           การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของแรงจูงใจที่มีอิทธิพลผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมืองจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลผลต่อกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมืองจังหวัดชลบุรี เป็นการวิธีการวิจัยวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากร คือ บุคลากรเทศบาลเมืองจังหวัดชลบุรี จำนวน 404 คน กลุ่มตัวอย่างคือ จำนวน 201 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติค่าของ t-test ค่าสถิติความแปรปรวนทางเดียว ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ (Least Significant Difference) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) 


        ผลการศึกษาพบว่า:


  1. ปัจจัยส่วนบุคคลของแรงจูงใจที่มีอิทธิพลผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมืองจังหวัดชลบุรี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ปัจจัยจูงใจ ด้านความสำเร็จของงาน ด้านความรับผิดชอบในงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ และด้านลักษณะของงานที่สร้างสรรค์และท้าทาย อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ยกเว้นด้านความก้าวหน้าในอาชีพ มีแรงจูงใจ อยู่ ในระดับปานกลาง ในส่วนของปัจจัยค้ำจุน  ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความมั่นคงในงาน ด้านสถานภาพในการปฏิบัติงานด้านตำแหน่งงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การและด้านการปกครองบังคับบัญชา อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ยกเว้น ด้านค่าจ้างและผลตอบแทน และด้านนโยบายและการบริหารมีแรงจูงใจอยู่ในระดับปานกลาง

  2. บุคลากรเทศบาลเมืองจังหวัดชลบุรี มีประสิทธิผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า บุคลากรเทศบาลเมืองจังหวัดชลบุรี มีประสิทธิผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากในด้านความพึงพอใจของประชาชน ด้านการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้านความสามารถปรับตัวได้ดี และด้านการพึ่งพาตนเองได้ ตามลำดับ    แรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมืองจังหวัดชลบุรี อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ประโยชน์ของผลการวิจัยในครั้งนี้คือบุคลากรเทศบาลเมืองจังหวัดชลบุรีมีการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิผลมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชน.

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชน. กรุงเทพมหานคร: เอ็กเปอเน็ต.

คันศร แสงศรีจันทร์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาล ตําบลบ้านดู่ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ รป.ม.). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

จิราภรณ์ หวังพิทักษ์. (2550). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุราษร์ธานี (วิทยานิพนธ์ บธ.ม.). มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2552). การบริหารการพัฒนา ความหมาย เนื้อหา แนวทางและปัญหา.พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรงชัย จิตหวัง.(2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการโรงเรียนนายเรือ. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธงชัย สันติวงษ์. (2535). องค์การและการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

ปรียาพรรณ ละอองนวล. (2550). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอีสานตอนล่าง (วิทยานิพนธ์ บธ.ม.). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ภรณี กีร์ติบุตร. (2529). การประเมินประสิทธิผลขององค์การ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

วราภรณ์ คำเพชรดี. (2552). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของงบุคลากรสำนักงานสรรพกร พื้นที่อุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วาสนา วังทะพันธ์. (2556). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร สังกัดเทศบาลตำบล อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562, จาก http://e-article.plu.ac.th/index.php/ 2556/15-pp/339-pp560216

วิทยา ด่านธํารงกูล. (2546). การบริหาร. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น .

สมจินตนา คุ้มภัย. (2553). การเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อประสิทธิผลองค์การ: กรณีศึกษารัฐวิสาหกิจในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริการศาสตร์.

อรรถสิทธิ์ ตันติยุทธ. (2556 ). ปัจจัยต่อแรงจูงใจปฏิบัติงานของพนักงานสายช่างของบริษัทก่อสร้างขนาดเล็ก ในอำเภอเมือง นครราชสีมา (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

Arnold, H.J. and Feldman, D.C. (1986) Organization Behavior. New York: McGraw-Hill.

Campbell, John P. (1977). On the Nature of Organizational Effectiveness. In New Perspectives on Organizational Effectiveness. San Francisco: Jossey-Bass.

Dessler, Gary. (1986). Organization Theory IntegratingStructure And Behavior. 2nd ed. Englewood Cliffs, N. J. : Prentice – Hall International.

Gibson, J. L. & Others. (1988). Organizational : Behavior, Sstructure, Proces.s. 3rd ed. Dallas; Texas : Business Publications, Inc.

Herzberg, F. (1979). The motivation to work. (2nd ed). New York : John Willey & Sons.

Hoy , W.K. and Ferguson. (1985).Theoretical Frame work and Exploration of Organizational Effectiveness in School. Educational Administration. Quarterly, 21(2),121-122.

Hoy, W and Miskel, C. G. (1991). Educational Administration : Theory, Research, and Practice. New York: McGraw-Hill.

Steers, R. (1977). Introduction to Organization Behavior. California : Goodyear Publishing.

Yamane, T.(1973).Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.