ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรใน เทศบาลในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

สมพร ภูวดลไพศาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจจากองค์การ ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี รูปแบบการศึกษาแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาและกลุ่มตัวอย่างตามวิธีของทาโร ยามาเน่ บุคลากรในเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 2,551 คน และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 346 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลด้านการทดสอบการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis)


         ผลการศึกษาพบว่า :


          แรงจูงใจจากองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในเทศบาลในจังหวัดปทุมธานีในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 โดยแต่ละด้านทั้งหมด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายข้อ พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสถานภาพและตำแหน่งหน้าที่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.85 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านงานและชีวิตส่วนตัว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.82


          ส่วนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 โดยแต่ละด้านทั้งหมด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายข้อ พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านปริมาณงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านเวลา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.82

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เพ็ญศิริ คุ้มคง. (2550). แรงจูงใจของพนักงานเทศบาลตำบลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี (ปัญหาพิเศษปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

คันศร แสงศรีจันทร์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาล ตําบลบ้านดู่ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ รป.ม.). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ณัชชา น่วมกรุง. (2556). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2560, จาก http://e-article.plu.ac.th/files/2556/PP/PP560292.pdf

ทรงชัย จิตหวัง. (2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการโรงเรียนนายเรือ (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรทิพย์ สุติยะ. (2550). ปัจจัยจูงใจในการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาในอำเภอเมืองเชียงใหม่ (การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วราภรณ์ คำเพชรดี. (2552). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของงบุคลากรสำนักงานสรรพกร พื้นที่อุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วาสนา วังทะพันธ์. (2556). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร สังกัดเทศบาลตำบล อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562, จาก http://e-article.plu.ac.th/index.php/ 2556/15-pp/339-pp560216

สมทบ ไศลชัย. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สุภพ กันธิมา. (2550). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลจังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการเมืองและการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อมรรัตน์ ยิ่งยวด. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรของสำนักงานที่ดิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

อรรถสิทธิ์ ตันติยุทธ. (2556). ปัจจัยต่อแรงจูงใจปฏิบัติงานของพนักงานสายช่างของบริษัทก่อสร้างขนาดเล็ก ในอำเภอเมือง นครราชสีมา (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

Yamane,T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. NewYork: Harper and Row Publications.