ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ในการซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เชิดชัย ธรรมอมรพงศ์

บทคัดย่อ

           การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนในกรุงเทพมหานคร  รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์ ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนจากการสุ่มตัวอย่างผู้บริโภคเขตบางแคจำนวน 400 คน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม  และรวบรวมข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าความถี่(Frequency) ค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และใช้สถิติ Chi-Square เพื่อทดสอบสมมติฐาน 


            ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนจากศูนย์บริการหรือตัวแทนจำหน่ายเลือกซื้อเพื่อความทันสมัย โดยเลือกซื้อเมื่อรุ่นใหม่ออกมา  เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุ 26 – 30  ปี มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี สถานะภาพโสดเป็นส่วนใหญ่ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว รองลงมาคือเป็นพนักงาน/ลูกจ้างเอกชนมีรายได้เฉลี่ยระหว่าง 25,001 – 30,000 บาท/เดือน ในส่วนพฤติกรรมใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟน 3 – 4 เดือน โดยนิยมซื้อที่ร้านจำหน่ายมือถือทั่วไป และตราสินค้าของโทรศัพท์สมาร์ทโฟนซื้อตราสินค้า Samsung รองลงมา คือ I-Phone โดยจ่ายเงินในการ ซื้อสินค้าแต่ละครั้งในราคา 20,001 – 25,000 บาท ซึ่งมีแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับโทรศัพท์สมาร์ทโฟนจากช่องทางโซเซียลมีเดียต่างๆ และทางอินเตอร์เน็ต การตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง โดยผู้บริโภคให้ความสำคัญมากถึงมากที่สุด เกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 4 ด้าน  


           สำหรับการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ พฤติกรรมซื้อ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมแล้วมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ที่เป็นเช่นนี้เพราะโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนโดยทั่วไป มีรูปแบบการออกแบบที่สวยงาม มีความคุ้มค่ากับเงินที่ซื้อ ฟังก์ชั่นต่างๆในโทรศัพท์สมาร์ทก็ครบครัน นอกจากนี้ยังมีการโฆษณาตามสื่อต่างๆ เป็นการดึงดูดให้ผู้บริโภคมาซื้อใช้ และหากผู้บริโภคมีความพึงพอใจในด้านประสิทธิภาพการใช้งานด้านภาพลักษณ์ และด้านความคุ้มค่าย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อทั้งในด้านความถี่ จำนวนเงินที่ใช้ซื้อแหล่งที่ซื้อสินค้าเป็นต้น ดังนั้นการสร้างความพึงพอใจให้เกิดแก่ผู้บริโภคได้มากเท่าไรย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อให้เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชญาข์นิษฐ์ กาญจนการุณ. (2556). การศึกษาปัจจัยด้านความไว้วางใจต่อตราสินค้าและการรับรู้ด้าน Brand Coolness ของผู้บริโภคที่ส่งผลกระทบต่อความตั้งใจซื้อ (สารนิพนธ์). มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร.

ชัยรัตน์ วงศ์ชื่น. (2550). พฤติกรรมการซื้อและความพึงพอใจของผู้ซื้อโทรศัพท์มือถือตราแบล็กเบอร์รี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สารนิพนธ์). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปทิตตา ผ่อนผัน. (2556). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านอินเตอร์เน็ต ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์สาขาบริหารธุรกิจ). คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วุฒิกุล ทองลิ่ม. (2552). คุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อมือถือแอลจีของผู้บริโภคใน กรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุขสันต์ เจียมศวิานนท์. (2550). ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์พีดีเอ โฟนของ HP ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ ซื้อของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.