สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร

Main Article Content

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ

บทคัดย่อ

          การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิตคณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิทยาแบบการสร้างทฤษฎีฐานรากซึ่งเป็นวิธีวิทยาหนึ่งของกระบวนทัศน์ทางเลือก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แนวคำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลักจากความคิดเห็นของ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ประกอบการ 2) กลุ่มผู้บริหารในสถานประกอบการ และ 3) กลุ่มศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาและทำงานแล้ว รวม 15 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับความหมายของสมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร ประกอบด้วย 1) ความรู้ด้านการเงิน 2) มีทักษะในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ 3) มีการทำงานเป็นทีม 4) มีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปได้ดี และ 5) มีความซื่อสัตย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต. (2552). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคการแข่งขัน.สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2560,

จากhttp://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1302&read=true&

count=true

Boyatzis, R.E. (1982). The Competent Manager: A model of Effective Performance. New York: John Wiley and Sons Inc.

Charmaz, K. (2006). Constructing Grounded Theory. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Chewapun, T. (2015). Performance of accounting staff in industrial factories in Nonthaburi. RMUTT Global Business and Economics Review, 10(2), 101-152.

Gary, H. & C.K. Prahalad. (1989).Collaborate with Your Competitors and Win. Harvard Business Review, 67(1), 133-139.

Jamieson, L. M. (1987). Competency-based approaches to sport management. Journal of Sport Management, 1(1), 48-56.

McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for intelligence. American Psychologist, 28(1), 1-14.

Office of the Higher Education Commission. (2015). Standard framework for higher education Accessible.Retrieved September 2, 2017, from http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/ news6.php

Park T-Y, Cho S-H. and Seo J.H. (2006). A Compulsive Buying Case: A Qualitative Analysis By the Grounded Theory Method. Springer Science Business Media, 28, 239-249.

Positta, C. (2013). Science and art of qualitative research. Amarin Printing & Publishing: Bangkok.

Sirisomboon, P. (2016). Qualifications of graduates under the framework of the National Higher Education Certificate of the College of Southeast Bangkok. Retrieved on July 14, 2017. From http://www.southeast.ac. th/SBC_Journal/Jornal_main/11.pdf

Strauss, A. L. (1987). Qualitative Analysis for Social Scientists. New York: Cambridge University Press.

Strauss, A., and Corbin, J. (1990). Basics of Qualitative Research: Grounded Theory Procedures and Techniques. Newbury Park: SAGE.

Suksawat, J. (2016). The performance of accountants in the needs of entrepreneurs in the east (Master Thesis). Srinakarinwirot University.

Vanitbuncha, K. (2015). Structure Equation Model by AMOS. (1st Ed.). Bangkok: Chulalongkorn Printing.