ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความต้องการสวัสดิการทางสังคมของผู้พิการในจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ชานนท์ คันธฤทธิ์

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความต้องการสวัสดิการทางสังคมของผู้พิการในจังหวัดนนทบุรี” โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการสวัสดิการทางสังคมของผู้พิการในจังหวัดนนทบุรี และ 2) ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความต้องการสวัสดิการทางสังคมของผู้พิการในจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี โดยคำนวณจากสูตรของทาโรยามาเน่ (Taro Yamane) และดำเนินการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Chi -Square (χ2) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product moment correlation) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์  


          ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นต่อปัจจัยทางสังคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน และมีความคิดเห็นต่อความต้องการสวัสดิการทางสังคมของผู้พิการในจังหวัดนนทบุรีโดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก


          ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพส่วนบุคคล ในด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ และประเภทความพิการกับความต้องการสวัสดิการทางสังคมของผู้พิการในจังหวัดนนทบุรี มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมกับความต้องการสวัสดิการทางสังคมของผู้พิการในจังหวัดนนทบุรีโดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการศึกษา 2) ด้านสุขภาพอนามัย 3) ด้านที่อยู่อาศัย 4) ด้านการทำงานและการมีรายได้ และ5) ด้านบริการสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจน จูประเสริฐ .(2546).ปัญหาเกี่ยวกับการจัดกัดสิทธิในการประกอบอาชีพของคนพิการในภาครัฐ.วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เอื้องทิพย์ ไตรบำรุง. (2550). การศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมของคนพิการในเขตเทศบาลนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา.หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ.ข้อมูลประมวลผลจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางคนพิการ.ณ สืบค้น วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 จาก http://nep.go.th/th/disability-statistic.
กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2550). สวัสดิการสังคมเพื่อคนด้อยโอกาส. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตรการเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิราภรณ์ งอยกุดจิก. (2557). ความต้องการสวัสดิการของคนพิการในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสนอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์.การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 : The 15th Graduate Research Conferences มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดนัยพัชร์ ชวัญมงคล .(2556).ความต้องการสวัสดิการสังคมของคนพิการในเขตเทศบาลตำบลตาจง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์.หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
ดารารัตน์ ทิพย์วงศ์ .(2550).ศึกษาเรื่องปัญหาและความต้องการในการได้รับสวัสดิการความช่วยเหลือจากภาครัฐของผู้พิการในอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน.หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาธารณสุขมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นาถยารัตน์ กาญจนพันธ์.การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของผู้พิการและผู้ทุพพลภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2555.
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 61 ก. (27 กันยายน 2550) :หน้า 8.
พิทยา บวรวัฒนา.(2544).รัฐประศาสนศาสตร์ ทฤษฎีและแนวการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนัญญา เจียนรัมย์ .(2557).ความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน.