ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทในการอนุรักษ์และเผยแพร่อาหารไทยของผู้ประกอบอาหารในโรงแรมขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วสันต์ กานต์วรรัตน์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทในการอนุรักษ์และเผยแพร่อาหารไทยของผู้ประกอบอาหารในโรงแรมขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานกับบทบาทในการอนุรักษ์และเผยแพร่อาหารไทยของผู้ประกอบอาหารในโรงแรมขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบอาหารไทยในโรงแรมขนาดใหญ่ที่มีบริการอาหารไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 150 ห้อง ขึ้นไป จำนวน 127 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product moment correlation) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์


           ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนบทบาทในการอนุรักษ์และเผยแพร่อาหารไทยของ ผู้ประกอบอาหารในโรงแรมขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม ผู้ตอบแบบสอบถามมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการศึกษาเรื่องอาหารไทย และ 2) ด้านการประกอบการอาหาร รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านหน้าที่และตำแหน่ง และ 2) ด้านจัดจำหน่ายและการสาธิต


           ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานกับบทบาทในการอนุรักษ์และเผยแพร่อาหารไทยของผู้ประกอบอาหารในโรงแรมขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม ด้านความสำเร็จในการทำงานของบุคคล ด้านลักษณะของงาน ไม่มีความสัมพันธ์กัน ส่วนด้านการยอมรับนับถือ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน และด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศสิริ ปั้นธุระ. (2550). เอกลักษณ์อาหารไทยชาววัง : การคงอยู่และการส่งเสริมคุณค่า. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
นฤมล นันทรักษ์. (2552). อุปนายก academics สมาคมพ่อครัวไทย อาจารย์ประจำและประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, 22 ธันวาคม 2552.
น้ำทิพย์ วงษ์ประทีป. (2550). การพัฒนาคุณภาพอาหารไทย : ลอดช่องหนองกระดิ่ง.คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. งานประชุมวิชาการเกษตรนเรศวรครั้งที่ 2. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (ตุลาคม 2549-มีนาคม 2550): 87-96.
นิธินันท์ ศักดิ์พงศ์สิงห์. (2540). บทบาทครูคหกรรมศาสตรวิทยาลัยอาชีวศึกษาต่อการอนุรักษ์อาหารไทย.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปาริชาต ตันประคองสุข. (2553). ปัจจัยในการเลือกบริโภคอาหารไทยของครูชาวต่างชาติในโรงเรียนนานาชาติในจังหวัดเชียงใหม่. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พงษ์ศักดิ์ ทรงพระนาม. (2547). บทบาทผู้ประกอบอาหารไทยในโรงแรมเขตกรุงเทพมหานครต่อการอนุรักษ์และเผยแพร่อาหารไทย.คณะคหกรรมศาสตร์ ประจำภาควิชาอาหารและโภชนาการสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
วันดี ณ สงขลา. (2551). ผู้อำนวยการโรงเรียนครัววันดี, ธันวาคม 2551.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). การสำรวจการประกอบกิจการโรงแรมและเกสต์เฮาส์ 2557. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2558 จาก http://www.m-society.go.th/ewt_news.php?nid=13742
Sabin, H.P. (1972).The Management Organizational : A Systems and Human Resources Approach. New York: McGraw – Hill.
Broom, L. and Selznick, P. (1973). Sociology. (5 th ed). New York: Harper and Row.