ปัจจัยทางพุทธจิตวิทยาที่มีผลต่อความรับผิดชอบต่อองค์กรของบุคลากร สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ทิพย์ ขันแก้ว

บทคัดย่อ

              การวิจัยเรื่อง “ปัจจัยทางพุทธจิตวิทยาที่มีผลต่อความรับผิดชอบต่อองค์กรของบุคลากร สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางพุทธจิตวิทยาที่มีผลต่อความรับผิดชอบต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อพัฒนากระบวนการส่งเสริมปัจจัยทางพุทธจิตวิทยาที่มีผลต่อความรับผิดชอบต่อองค์กร  ของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ 3)เพื่อตรวจสอบกระบวนการส่งเสริมปัจจัยทางพุทธจิตวิทยาที่มีผล ต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์


             การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods Research)แบ่งวิธีดำเนิน การวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ใช้แนวทางวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการวิจัยด้วยการลงภาคสนาม ด้วยวิธีการสัมภาษณ์  ระยะที่ 2 จัดโครงการอบสัมมนาเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อองค์กร ระยะที่ 3 ตรวจสอบกระบวนการ ทางพุทธจิตวิทยาต่อความรับผิดชอบต่อองค์กร ใช้แนวทางวิธีการเชิงปริมาณ (Qualitative approach) ในการศึกษากระบวนการความรับผิดชอบต่อองค์กรของบุคลากร โดยการศึกษาจากกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน 


          ผลการวิจัยพบว่า


          1.ปัจจัยทางพุทธจิตวิทยาที่มีผลต่อองค์กรของบุคลากร พบว่า ด้านพุทธธรรม คือ การทำงานในองค์กรควรใช้หลักพุทธธรรมเชิงบวก คือ การมองเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากว่าประโยชน์เพียงบางคนบางกลุ่ม แบ่งงานหน้าที่รับผิดชอบ มีอิสระในการแสดงความคิด มุ่งประโยชน์ของหน่วยงานเป็นหลัก ปรึกษาหารือหาแนวทางแก้ไขปัญหา มีกัลยาณมิตร  ด้านจิตวิทยา พบว่า การสร้างกรอบแนวคิดพื้นฐานภายในองค์กรโดยการกำหนดแผนการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ค่านิยม วัฒนธรรมองค์กรหรือพฤติกรรมองค์กร เพื่อสร้างความแตกต่างและโดดเด่นกว่าองค์กรอื่นๆ ด้านปัจจัยภายในองค์กร พบว่า ค่านิยมและการสร้างวัฒนธรรมองค์กร จะเห็นว่าองค์ประกอบส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เป็นการสร้างองค์ความรู้ในองค์กร ซึ่งวัฒนธรรมการทำงานที่มีความซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียรและมีความรับผิดชอบ มีความเคารพและสนับสนุนการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและจรรยาบรรณของทางราชการเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับผลประโยชน์ของทางราชการ


          2.พัฒนากระบวนการส่งเสริมปัจจัยทางพุทธจิตวิทยาที่มีผลต่อองค์กรของบุคลากร พบว่า เมื่อทำการทดสอบหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ กระบวนการสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อองค์กร ตามหลักพุทธจิตวิทยาด้วยโมเดล  4 อ แล้ว พบว่า พฤติกรรมความรับผิดชอบต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.43


          3.ตรวจสอบกระบวนการส่งเสริมปัจจัยทางพุทธจิตวิทยาต่อความรับผิดชอบต่อองค์กร ของบุคลากร พบว่า การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา เป็นการจัดกิจกรรมที่มีเปิดโอกาสให้บุคลากร ได้เล่นและมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยการพูดหรือการกระทำภายใต้กติกาข้อตกลง ซึ่งเนื้อหาในเกมแต่ละชุด ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสังคม และกิจกรรมที่สอดคล้องกัน ยังช่วยให้บุคลากร ได้เกิดประสบการณ์ใหม่ และช่วยให้เกิดทักษะในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง


          ผลการวิเคราะห์ Correlations ตรวจสอบกระบวนการส่งเสริมปัจจัยทางพุทธจิตวิทยาที่มีผลต่อความรับผิดชอบต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ แบบมีค่าSig.>0.01 แสดงว่าปัจจัยทางพุทธจิตวิทยามีความสัมพันธ์กันกับความรับผิดชอบต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรียา ชัยนิยม. (2542). การศึกษาความคิดเห็นของครูต่อการสอนความรับผิดชอบและความมีระเบียบวินัยโดยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ในสถานศึกษา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การประถมศึกษา). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ลักคะณา เสโนฤทธิ์. (2551). ผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วีระพงศ์ บุญประจักษ์. (2545). การจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านของไทยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. สาขาการศึกษาปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศรีสุดา ชินรัตนตรัย. (2536). สุขภาพจิตนิสิตปริญญาโทวิชาเอกจิตวิทยาการให้คำปรึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศลิษา เตรคุพ. (2553). ประสิทธิผลของเกมและเพลงช่วยสอนในรายวิชาภาษาเยอรมันเบื้องต้น 1. วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม): 41-56.
สมจินตนา คุปตสุนทร. (2547). การศึกษาความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การศึกษาปฐมวัย). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยา เนื้อหาและแนวการใช้ประโยชน์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 12.กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545 – 2559) ฉบับสรุป). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟค.
.(2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์.(2550). เอกสารประกอบการสอนวิชา ECED 201สาขาการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
สุภัค ไหวหากิจ.(2543). การเปรียบเทียบการรับรู้วินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
เล่านิทานคติธรรมและการเล่นเกมแบบร่วมมือ. ปริญญานิพนธ์ กศม. (การศึกษาปฐมวัย).
กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.