แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสันติสุขสู่ชุมชนตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) หลักพุทธธรรมสำหรับการเสริมสร้างสันติสุข 2) สภาพปัญหาของชุมชนตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 3) แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสันติสุขสู่ชุมชนตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ผลการวิจัยพบว่า สัปปุริสธรรมเป็นหลักพุทธธรรมสำหรับการเสริมสร้างสันติสุข ส่วน ส่วนสภาพปัญหาของชุมชนตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม คือ ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบุคคล ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับสังคม ส่วนแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสันติสุขสู่ชุมชนตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โดยประยุกต์สัปปุริสธรรม ซี่งมีประกอบไปด้วย ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ อัตถัญญุตา รู้จักผล อัตตัญญุตา รู้จักตน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ กาลัญญุตา รู้จักกาล ปริสัญญุตา รู้จักบริษัท ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล ตลอดจนการใช้ภาษาสื่อสารเชิงประนีประนอม
Article Details
References
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2553). การบูรณาการพุทธิปัญญาเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม. กรุงเทพมหานคร: ไทยรายวันการพิมพ์.
พิณจ์ทอง แมนสุมิตร์ชัย. (2559). รูปแบบการสื่อสารอย่างสันติเชิงพุทธจิตวิทยา. ดุษฎีบัณฑิตนิพนธ์. สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศูนย์การเฝ้าระวังและการเตือนภัยทางสังคม สำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2556). ผลการสำรวจสถานการณ์ความรุนแรงในภาพรวม 76 จังหวัด ปี 2556. กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
อรนุช โขพิมพ์. (2555). ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.