พระพุทธศาสนากับการเมือง

Main Article Content

พระ ชลญาณมุนี

บทคัดย่อ

            จากการศึกษาบททความนี้ “พระพุทธศาสนากับการเมือง” พบว่า  การเมืองการปกครองการดูแลบริหารรัฐ ซึ่งมี 3 บริบททางการเมือง ทางสังคม และทางเศรษฐกิจ ในพุทธกาลที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องอธิปไตยไว้ 3 ประการ คือ อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย และธรรมาธิปไตย ซึ่งเป็นคุณลักษณะเป็นผู้ทรงธรรม มีความยุติธรรม มีความรอบรู้ และมีความเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ที่อยู่ภายใต้ของการปกครองอย่างถูกต้องและเป็นธรรม 2 ประการ คือ หลักกฎหมาย และหลักศีลธรรม ผู้นำการปกครองจะต้องยึดถือเป็นข้อปฏิบัติ ให้เหมาะสมตามธรรม คือ หลักอปริหานิยธรรม 7 หลักอคติ 4 หลักพรหมวิหาร 4 หลักสัปปุริสธรรม 7 หลักจริต 6 ที่ชอบธรรมในการปกครอง ที่เรียกว่า ประชาธิปไตย ที่มีอำนาจสิทธิ์ 3 แบบ คือ แบบราชาธิปไตย แบบโลกาธิปไตย และแบบธรรมาธิปไตย ที่มีสิทธิ ที่จะกระทำการใดๆ ที่ไม่ขัดต่อสิทธิของผู้อื่นหรือขัดต่อศีลธรรม มีเสรีภาพที่จะกระทำการใดๆ ได้ตามที่ตนปรารถนาโดยไม่มีอุปสรรคขัดขวาง นอกจากนี้ ยังมีความเสมอภาคตามกฏของ”ไตรลักษณ์“ และทางสังคม เช่น ชนชั้น เพศ และ มีภราดรภาพ คือ ความสมัครสมานสามัคคีในหมู่คณะ แบบสามัคคีธรรมมาใช้ในสังคมไทย ที่ได้รับอิทธิพลจากโลกตะวันตก ในสังคมไทยปัจจุบันอยู่ภายใต้ “การปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข” โดยยึดเสียงของประชาชนเป็นเกณฑ์ในการประยุกต์วิธีการบริหารรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ ที่ได้กำหนดหน้าที่ของประชาชนไทยไว้ ในมาตรา 66-70 สำหรับคุณธรรมของชาวไทย มาประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างพอเหมาะพอสม ในการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทย ซึ่งการนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาใช้ในการบริหารบ้านเมือง และส่งเสริมให้ประชาชนอยู่ในศีลธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นเครื่องมือในการเมืองการปกครองของไทยในสมัยปัจจุบัน ที่เป็นผู้สนองงานของพระมหากษัตริย์ ในส่วนที่ผู้ดูแลบริหารบ้านเมือง ที่นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการบริหารบ้านเมืองของประเทศ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จิรโชค (บรรพต) วีระสัย.ดร. และคณะ. (2540). รัฐศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จักษ์ พันธ์ชูเพชร. ผศ. ดร..(2549). การเมืองการปกครองไทยจากยุคสุโขทัยสู่สมัยทักษิณ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : บริษัท มายด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.
จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2520). แบบเรียนศาสนาสากล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.
เดโช สวนานนท์. (2545). พจนานุกรมศัพท์ทางการเมือง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้างจำกัด.
บรรพต วีระสัย. (2525). “ลักษณะและรูปแบบการปกครอง” ในเอกสารการสอนชุดวิชาหลักรัฐศาสตร์และการบริหาร หน่วยที่ 1-8 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. สัมพันธ์พาณิชย์.
บรรพต วีระสัย. (2520). ความคิดเชิงทฤษฎีการเมืองในพุทธศาสนา ในทฤษฎีการเมืองสมัยสุโขทัย และสมัยกลาง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคําแหง
ประยงค์ สุวรรณบุบผา. (2537). สังคมปรัชญา แนวคิดตะวันออก-ตะวันตก. กรุงเทพมหานคน: โอ. เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2538). การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิกจำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). จาริกบุญ-จารึกธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์สวย จำกัด.
พลศักดิ์ จิรไกรศิริ. (2527). ความคิดทางการเมืองของพระสงฆ์ไทย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือ ม.ศ.ว..
ลัทธิกาล ศรีวะรมย์, ดร. สุชัย ทองแก้วกูล. (2538). หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : SR printing.
ลิขิต ธีรเวคิน. ศ.ดร.. (2546). ประชาธิปไตยและการปฏิรูปการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: เจ้าพระยาระบบการพิมพ์.
สมบูรณ์สุขสำราญ. (2527). พุทธศาสนากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมือง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2541). คุณลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________.(2532). อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อานนท์ อาภาภิรม. (2528). รัฐศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: O.S Printing House Co., Ltd..
Prof. S.N.. (1999). Modern Comparative Politics. New Delhi : Prentice Hall of India Prive Ltd..
Prof. K.C. Mishra. (1998). Political Science Theory. Delhi : Ajanta PraKashan.