รูปแบบการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วย ในแผนกอายุรกรรมในโรงพยาบาลเอกชน

Main Article Content

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วย ในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน (2) เพื่อค้นหารูปแบบการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วย ในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ป่วยนอกที่ใช้บริการในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 880 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) สถิติที่ทดสอบสมมติฐานประกอบด้วยสถิติวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis) และสถิติวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัย พบว่า (1) รูปแบบการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วย ในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชนประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยการบริการทางการแพทย์และปัจจัยการต้อนรับของแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน โดยปัจจัยการบริการสุขภาพที่สำคัญมากที่สุด คือ ปัจจัยการต้อนรับของแผนก อายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยการบริการทางการแพทย์ ตามลำดับ (2) ปัจจัยความพึงพอใจของผู้ป่วย ในแผนกอายุรกรรมกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนในด้านการกลับมาใช้บริการซ้ำมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการแนะนำบอกต่อลูกค้ารายอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วาณิชบัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง SEM ด้วย AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เยาวภา ปฐมศิริกุล. (2552). กลยุทธ์การตลาดบริการสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2557). ข้อมูลรายบริษัทหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=VIBHA&language=th&country=TH

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2550). เทคนิคการเขียนรายงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). จำนวนประชากรและจำนวนโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://service.nso.go.th/

Assale (1998). Consumer and marketing action. 6th Cincinnati. Ohio: South-Western College Publishing.

Brown and Swartz. (1989). A Gap Analysis of Professional Service Quality. Journal of Marketing, 53,(2), 92-98.

Fikry Farid. (2008). Development of a Model for Healthcare Service Quality: An Application to the Private Healthcare Sector in Egypt. PhD. Thesis. Maastricht School of Management. Netherlands.

Herzberg Frederick (1959). The motivation of work. New York: John Wiley & Sons.

Lovelock. (2007). Service Marketing. 6th edition. Upper Saddle River. New Jersey: Prentice Hall.

Panjakajornsak. (2008). A Comprehesive Model Service Loyalty in the Context of Thai Private Hospitals. PhD. Thesis. Thailand: Eastern Asia University.

Zeithaml and Bitner. (2000). Service Marketing: Integrating Customer Focus Across Firms. USA : McGraw Hill Companie.