ความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมทุเรียนอบแห้งเยือกแข็งของไทย กรณีศึกษาบริษัท ABC

Main Article Content

วิทวัส สมานสิ

บทคัดย่อ

            เนื่องจากอุตสาหกรรมทุเรียนอบแห้งเยือกแข็งเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และมีผลต่ออุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวหลายด้าน และยังสามารถบ่งบอกการเติบโตของอุตสาหกรรมอื่นได้ด้วย เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่มีการบริโภคเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะทุเรียนอบแห้งเยือกแข็งในปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นทุเรียนอบแห้งเยือกแข็งสามารถนำมาเก็บรักษาไว้บริโภคได้เกิน 1 ปี และยังมีรูปแบบหลากหลาย ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าแก่สินค้าได้ด้วย ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาหาข้อได้เปรียบเชิงการแข่งขันในการผลิตทุเรียนอบแห้งเยือกแข็งของไทยของบริษัท ABC และเพื่อการศึกษาถึงระดับและความสามารถในการแข่งขันและแนวโน้มการแข่งขันของอุตสาหกรรมทุเรียนอบแห้งเยือกแข็งของไทยโดยเปรียบเทียบข้อมูลกับบริษัทผู้ร่วมธุรกิจในอุตสาหกรรมทุเรียนอบแห้งเยือกแข็งโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข่อมูล ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ผลิตอุตสาหกรรมทุเรียนอบแห้งเยือกแข็งจำนวน 10 บริษัท ผลการทดสอบพบว่าข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่แตกต่างกันมีผลทำให้ความสามารถในการแข่งขันของบริษัท ABC แตกต่างกันมีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมทุเรียนอบแห้งเยือกแข็ง และข้อมูลความคิดเห็นของบริษัทผู้ร่วมในอุตสาหกรรมมีอิทธิพลต่อความสามารถในการ แข่งขันของบริษัท ABC มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมทุเรียนอบแห้งเยือกแข็งโดยเปรียบเทียบในการส่งออกสินค้าในอุตสาหกรรมทุเรียนอบแห้งเยือกแข็ง หมวดพิกัดศุลกากร 0810.60.00 ในตลาดโลก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์. (2554). การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ International Business Management. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2554). ร่วมสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพฯ: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพานิชย์.

กรมส่งเสริมการส่งออก. โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยสู่การทำธุรกิจในต่างประเทศ (Internationalization Project). สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2554, จาก http://www.depthai.go.th/ tabid/100/Default.aspx

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (ECIT:Enhancing SMEs Competitiveness Through IT). สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2554, จาก http://info.dip.go.th/

โชคชัย ชัยธวัช. (2546). ผู้ประกอบการชาญฉลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ซี.พี. บุ๊คสแตนดาร์ด.

ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา (2549). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งออกของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัยตามโครงการวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ทศพล คำวังแคน. สาเหตุและแรงจูงใจของการดำเนินธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2555, จาก http://www.totsapon3003.blogspot.com

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). รวมบทความ การวิจัย การวัดและประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์นิด้าการพิมพ์.

พงษ์สรรค์ ลีลาหงศ์จุฑา และลักคณา วรศิลป์ชัย. (2553). กลยุทธ์ผู้ส่งออกไทยบนความท้าทายของบริบทโลก. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 30(4),177-180.

พัชรี วิหะกะรัตน์. (2554). ความสามารถในการแข่งขันอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งของประเทศไทยในตลาดต่างประเทศที่สำคัญ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา เศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มนัสนันท์ พงษ์ประเสริฐชัย. (2550). การศึกษาความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามแนวคิดฐานทรัพยากร : กรณีศึกษากลุ่มผู้ผลิตสินค้าประเภทอาหารเพื่อการส่งออกรัตติกรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. ความสำคัญของธุรกิจระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2555, จาก http://blog.rmutsb.ac.th

ราวดี สุริสระพันธ์. (2542). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการส่งออกสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บธ.ด. (ธุรกิจระหว่างประเทศ). บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิวิมล สุขบท. (2546). การตลาดระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอนัล พับบลิเคชั่น จำกัด.

ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ. (2555). การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ International Business Management. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด.

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2546). โครงการศึกษาการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. นิยามSMEs. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2554, จาก http://www.ismed.or.th

สโรกาญจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กับผลกระทบต่อ ประเทศไทย (ตอนที่ 1). สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2555,จาก http://www.manager.co.th/mutualfund/ViewNews.aspx? NewsID=9550000074740