ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

โมรยา วิเศษศรี
สโรชินี ศิริวัฒนา
วรพล เพ็ชรภูผา

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร ตามลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร จำนวน 244 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถเพื่อประโยชน์ขององค์กร รองลงมาคือ ความต้องการที่จะคงอยู่เป็นสมาชิกขององค์กรต่อไป ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความเชื่อมั่นในการยอมรับ เป้าหมาย และค่านิยมขององค์กร ตามลำดับ 2) ผลการศึกษาความแตกต่างของความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร ในภาพรวม ตามคุณลักษณะด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ ผู้บังคับบัญชาควรจะส่งเสริมให้บุคคลมีความจงรักภักดีต่อองค์กร เช่น เปิดโอกาสให้พนักงานมีโอกาสพัฒนาความรู้ ความสามารถ ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การให้ความสำคัญกับค่าตอบแทน สวัสดิการและความมั่นคงในงาน เพื่อประโยชน์ที่มีแก่องค์กรสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิติยา อินทรอุดม. (2556). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรเทคบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี (ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชาตรี จักณารายณ์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขารัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม.

ธีรวีร์ ศรีอารียะจันทร์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการ สำนักงานเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นันทนา ผ่องเภสัช. (2554). ความผูกพันต่อองค์การ: ศึกษากรณีข้าราชการวิทยาลัยพยาบาล เกื้อการุณย์ (ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการบริหารทั่วไป. มหาวิทยาลัยบูรพา.

รชต ผ่องพันธ์. (2560). ความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการตำรวจสังกัดสถานีตำรวจภูธรท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏไลยอลงกรณ์

ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ราตรี ชินหัวดง. (2559). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานที่ดินสาขาในจังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ศุภกร นาสมบูรณ์. (2558). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลกุคุรุ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สมคเนย์ เกษมสาราญ. (2551). ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่เทศบาลบางละมุงจังหวัดชลบุรี. (ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุพจน์ เทียมปโยธร. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏไลยอลงกรณ์.

อิทธิ มงคลลาภกิจ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานเครือวสันต์สตูดิโอ (การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Steers, R. M., & Porter, L. W. (Eds.). (1991). Motivation and Work Behaviour. (5th ed.). New York: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.