การประเมินผลยุทธศาสตร์เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาจังหวัดลำพูน พ.ศ. 2561-2565 ประจำปีงบประมาณ 2563

Main Article Content

นพดล บุรณนัฏ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาจังหวัดลำพูน พ.ศ. 2561-2565 ประจำปีงบประมาณ 2563 2) สำรวจความพึงพอใจต่อยุทธศาสตร์เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาจังหวัดลำพูน พ.ศ. 2561-2565 ประจำปีงบประมาณ 2563 เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนผู้อาศัยในพื้นที่โครงการ/กิจกรรมตามยุทธศาสตร์เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามแผนพัฒนาจังหวัดลำพูน และบุคลากรเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากรเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าความถี่ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดลำพูนมีความสอดคล้องกันกับนโยบายของรัฐบาลและแผนระดับชาติ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการดำเนินยุทธศาสตร์เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาจังหวัดลำพูน ประกอบด้วย (1) บุคลากร (2) งบประมาณ และ (3) ระบบเทคโนโลยี 2) ความพึงพอใจต่อยุทธศาสตร์เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมตามยุทธศาสตร์เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.78 รองลงมา ได้แก่ ความพึงพอใจต่อการรายงานผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมตามยุทธศาสตร์เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตใส เกตุแก้ว. (2556). ความพึงพอใจของครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการพัฒนาครู ด้วยชุดฝึกอบรม e-Training (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยสยาม.

ฝ่ายเลขานุการ ก.บ.จ. ลำพูน, สำนักงานจังหวัดลำพูน. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดลำพูน (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน ปี พ.ศ.2563. ลำพูน: สำนักงานจังหวัดลำพูน.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2551). การประเมินโครงการ: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนาภรณ์ ศรีหาพล. (2556). ความพึงพอใจต่อการใช้บริการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551. (2551, 30 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 137. หน้า 1.

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82ก. หน้า 1.

วรางคณา ผลประเสริฐ. (2554). แนวคิดการจัดการเชิงกลยุทธ์. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ในการบริหารโรงพยาบาล หน่วยที่ 1-5. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2557). คู่มือการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ Strategic Planning Manual. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.

สำนักทะเบียนจังหวัดลำพูน. (2563). สถิติจำนวนประชากร. สำนักทะเบียนจังหวัดลำพูน.

สุนันทา เลาหนันท์. (2555). การสร้างทีมงาน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: แฮนด์เมดสติกเกอร์แอนด์ดีไซน.

อนิวัช แก้วจำนงค์. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Chase C.J. (1987). Measurement for Education Evaluation (2nded.). Massachusetts: Addison-Wesley Publishing Company.

Mehrens W.A. & Lehman I.J. (1984). Measurement and Evaluation in Education and Psychology (3rd ed.). Japan: Holt, Rinehart and Winston.

Rothaermel, F. T. (2013). Strategic Management Concepts and Cases. New York: McGraw-Hill Education.

Shertzer B. & Linden J.D. (1979). Fundamentals of Individual Appraisal. Boston: Houghton Miffin Company.

Tidd and Bessant. (2014). Strategic Innovation Management. United Kingdom: Wiley.

Yamane,T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rded.).New York: Harper and Row Publications.