การประเมินผลกระทบนโยบายการค้า การลงทุน เขตพื้นที่ชายแดน: ศึกษากรณี พื้นที่ด่านอำเภอเชียงแสน ด่านอำเภอแม่สาย และด่านอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

สุรศักดิ์ รัชตากร
ชนิดา จิตตรุทธะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทด้านสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการลงทุน การเงิน การท่องเที่ยวและบริการ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดนด่านอำเภอเชียงแสน ด่านอำเภอแม่สาย และด่านอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในช่วงปี 2557-2561 2) ปัจจัยนำเข้า กระบวนการนโยบาย และผลิตภาพนโยบายที่ส่งผลกระทบในการขยายโอกาสการลงทุนและความร่วมมือทั้งภายในพื้นที่และภายนอกประเทศ และ 3) ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการค้าชายแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และผู้ประกอบการและตัวแทนจากภาคเอกชน ผลการศึกษาพบว่า 1) บริบทด้านสภาพแวดล้อม ทั้ง 3 ด่านมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนในระยะ 7 ปี (พ.ศ.2558-2564) มีพื้นที่ชายแดนที่เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน และรองรับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2) ปัจจัยนำเข้า กระบวนการนโยบาย และผลิตภาพของนโยบาย พบว่ามีการพัฒนาด่านการค้าชายแดนและโครงข่ายการคมนาคมขนส่งบริเวณประตูการค้าหลักของประเทศเพื่อรองรับการเชื่อมโยงกระบวนการผลิตและการลงทุนข้ามแดน สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาศูนย์กลางการค้าชายแดนอำเภอเชียงของเชื่อมโยงกับประเทศในกลุ่ม GMS และ 3) ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการค้าชายแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ในพื้นที่ด่านอำเภอเชียงแสน ถูกวางให้เป็น Port City ภาครัฐว่าควรมีแนวทางให้เกิดความร่วมมือในการค้าชายแดนบริเวณท่าเรือเชียงแสนและการท่องเที่ยวทางน้ำไปยังจีนตอนใต้ ส่วนด่านอำเภอแม่สาย ภาครัฐควรมีแนวทางให้เกิดความร่วมมือการทำการค้า การลงทุนกับเมียนมาร์เชื่อมไปยังด้านตะวันออกของรัฐฉานถึงมณฑลยูนนานของจีน ส่วนด่านอำเภอเชียงของ ถูกวางให้เป็น Logistic City ภาครัฐว่าควรมีแนวทางในการขยายโอกาสการค้า การลงทุน การพัฒนาการค้า การท่องเที่ยว และศูนย์ขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เชื่อมการค้าสู่จีนตะวันตกและเส้นทางการท่องเที่ยวสู่หลวงพระบาง สปป.ลาว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการค้าต่างประเทศ. (2560). การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2560,จาก http://web.dft.go.th/Portals/0/ContentManagement/Document_Mod684.pdf

กรมการค้าต่างประเทศ. (2561). การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2561. กรุงเทพฯ: กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ สศช.

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2. (2561). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน พ.ศ. 2565. กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์.

เกียรติศักดิ์ ท้าวเขื่อน. (2561). ผลสัมภาษณ์หน่วยงานเอกชน: ธนาคารออมสิน สาขาเชียงของ จังหวัดเชียงราย วันที่ 26 พฤศจิกายน 2561. เชียงราย: ธนาคารออมสิน สาขาเชียงของ.

ชุติสร เรืองนาราบ. (2560). การค้าชายแดนของไทยโอกาสและการปรับตัว Border Trade Thailand’s Opportunity and Adaptation. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ. วารสารเศรษฐศาสตร์รามคำแหง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประจำปี 2560. S(S),43-48.

ชาติชาย พยุหนาวีชัย. (2562). ผลสัมภาษณ์หน่วยงานเอกชน: ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร วันที่ 3 มกราคม 2562. กรุงเทพฯ: ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่.

ณัฐพรพรรณ อุตมา. (2558). นโยบายส่งเสริมการลงทุนชายแดน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ดนิตา มาตา. (2560). เครือข่ายทางสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

นพรัตน์ ละมูล. (2561). ผลสัมภาษณ์ สื่อมวลชนอิสระ วันที่ 20-21 มิถุนายน 2561. โครงการวิจัย นโยบายด้านความมั่นคงของรัฐเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายผู้คนในพื้นที่ชายแดนอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย : การปรับนโยบายความมั่นคงชายแดน. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

นิวัตน์ ร้อยแก้ว. (2561). ผลสัมภาษณ์ กลุ่มรักษ์เชียงของ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2561. โครงการวิจัย นโยบายด้านความมั่นคงของรัฐเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายผู้คนในพื้นที่ชายแดนอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย : การปรับนโยบายความมั่นคงชายแดน. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ประพาฬรัตน์ สุขดิษฐ์ และอภิชิต เอื้ออริยกุล. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนานโยบาย กฎหมายกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับการส่งเสริมการค้าชายแดน การลงทุน การท่องเที่ยว และการคมนาคมขนส่งภายใต้บริบทประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษาตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร กับเมืองปากเซ แขวงจ้าปาสัก. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารนิติสังคมศาสตร์, 11(1), 110-124.

ปิยะพร ศรีสมุทร. (2558). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย – ท่าขี้เหล็ก อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตร มหาบัณฑิต (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ) คณะการจัดการการท่องเที่ยว.

พงษ์นรา เย็นยิ่ง (2557). แนวทางการพัฒนาพื้นที่ด่านชายแดนเชียงของ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเสนาธิการทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศกองบัญชาการกองทัพไทย. เอกสารการวิจัย นักศึกษาวิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ 55.

พงษ์รัตน์ดา บุตรโต. (2561). อนาคตการค้าชายแดนปี 2561. กรุงเทพฯ: กรมการค้าต่างประเทศ. กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน.

ภูชิสส์ เมืองเปีย. (2561). ผลสัมภาษณ์หน่วยงานเอกชน ธนาคารกสิกรไทย สาขาแม่จัน วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561. จังหวัดเชียงราย: ธนาคารกสิกรไทย สาขาแม่จัน.

ยุทธพงศ์ จันทรวรินทร์. (2561).“โอกาส”หรือ“ความท้าทาย”ของการพัฒนาเมืองชายแดนเชียงของไปสู่ความทันสมัยภายใต้นโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ยุทธพงศ์ จันทรวรินทร์. (2563). สภาวการณ์ความตึงเครียดของการพัฒนาเมืองชายแดนเชียงของไปสู่ความทันสมัยภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของกับบทบาทของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมท้องถิ่น. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สาขาการพัฒนาระหว่างประเทศ.

วิภวานี เผือกบัวขาว. (2560). การกำหนดนโยบายส่งเสริมการค้าชายแดนไทย - เมียนมา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 68-85.

วีระวุฒิ สร้อยพลอย. (2561). ความคืบหน้าเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย. กรุงเทพฯ: กรมการค้าต่างประเทศกลุ่มงานความร่วมมือ 2 กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน.

ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย. (2564). เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2564, จาก https://chiangsaen.go.th/เขตเศรษฐกิจพิเศษ

สงวน ซ่อนกลิ่นสกุล. (2560). ผลสัมภาษณ์ รองประธานหอการค้า อำเภอเชียงของวันที่ 10 กรกฎาคม 2560. นโยบายด้านความมั่นคงของรัฐเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายผู้คนในพื้นที่ชายแดนอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย: การปรับนโยบายความมั่นคงชายแดน. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

สุมาลี สุขดานนท์. (2558). รายงานการศึกษาประเมินศักยภาพช่องทางการค้าการขนส่งชายแดนไทย - พม่า. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2560). แผนยุทธศาสตร์การค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 พ.ศ. 2560-2564 (เชียงราย น่าน พะเยา และแพร่). กรุงเทพฯ: กระทรวงพาณิชย์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2561. กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์และการพัฒนาพื้นที่.

เหมโชค สิงห์สมบุญ. (2559). ผลสัมภาษณ์หน่วยงานเอกชน: โรงแรมนาคราช อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559. เชียงราย: โรงแรมนาคราช อำเภอเชียงของ.

Albert H. (2005). SWOT Analysis for Management Consulting. SRI Alumni Newsletter. SRI International. Retrieved 9 January 2021, from https://www.sri.com/sites/default/files/ brochures/dec-05.pdf

Anderson, J. E. (1994). Public policy Making. New York: Houghton Mifflin.

Boulding & Bertalunfly. (1920). General system theory. New York: George Braziller.

Fischer, B. (1982). Exact solution of a nonlinear model of four-wave mixing and phase conjugation. Optics Letters,7(7), 313-315.

Kimberly, J. R. (1979). Issues in the creation of organizations: Initiation innovation and institutionalization. Academic Management Journal, 22(3), 437-457.

Miller, E. J. & Rice, A. K. (1967). Systems of organization. London: Tavistock Publications.

Norbert, W. (1948). Annals of the New York Academy of Sciences. Teleological Mechanisms, 50(4),197-220.

Rossi, P. H. & Freeman, H. E. (1993). Evaluation: A Systematic Approach (5th ed.). Newbury Park, Calif.: Sage Publications.

Sabatier, P.A. and Mazmanian, D.A. (1989). Implementation and Public Policy: With a New Postscript. Latham, MD: University Press of America.

Stufflebeam, S. (1971). Educational Evaluation and Decision – Making, Illinois: Peacock Publishers., Inc.

Thomas R. D. (1978). Understanding Public Policy. (3rded.). Engle wood Cliffs, N.J.: Prentice Hall.

Vedung, E. (2008). Four Waves of Evaluation Diffusion. Evaluation, 16(3),263-277.