ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานกับทักษะเชิงนวัตกรรมของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษา ในเขตปทุมธานี

Main Article Content

สมญา แชมเบอร์ส
เฉลิมพร เย็นเยือก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะเชิงนวัตกรรมของบุคลากร และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานกับทักษะเชิงนวัตกรรมของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เขตจังหวัดปทุมธานี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารวิชาการ และ แจกแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่าจำนวน, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติอนุมาน t-test, F-test และ correlation ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ระดับการศึกษาปริญญาโท รายได้ต่อเดือน ระหว่าง 15,000 – 20,000 บาท และมีระยะเวลาทำงานมากกว่า 15 ปี ส่วนบริบทการปฏิบัติงานพบว่าบุคลากรให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม, หน่วยงานมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้จริง, หัวหน้างานให้การสนับสนุนบุคลากรในหน่วยงาน และ บุคลากรมีความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี ส่วนทักษะเชิงนวัตกรรมพบว่า ทักษะด้านการบูรณาการมีระดับความสำคัญมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ กับ ระดับการศึกษาที่ต่างกัน มีทักษะเชิงนวัตกรรมต่างกัน และ ปัจจัยด้านบริบทการปฏิบัติงานทุกด้าน มีความสัมพันธ์กับทักษะเชิงนวัตกรรมในทุกด้าน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จากผลการศึกษา หน่วยงานจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและสนับสนุนกับบุคลากรให้สอดคล้องกับหน้าที่รับผิดชอบและบริบทขององค์การอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพเชิงนวัตกรรมอันจะส่งผลต่อศักยภาพการแข่งขันขององค์การต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลพรรณ วุฒิอำพล. (2562). ทักษะเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1(วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จรงค์ศักดิ์ พุมนวน. (2562). การสร้างแรงบันดาลใจเพื่อการพัฒนางานประจำของบุคลากรสายสนับสนุน ในสถาบันอุดมศึกษา. Mahidol R2R e-Journal, 6(1), 1-13.

ดนชนก เขื่อนน้อย. (2559). นวัตกรรมกับความคิดสร้างสรรค์. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ, 3(1), 1-2.

ตรีทิพ บุญแย้ม. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมระดับบุคคลและ ระดับกลุ่มงานเพื่อสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ในบริษัทเอกชนของไทย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธเณศร์ สุพงษ์. (2561). ความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบและประเภทของนวัตกรรมการศึกษา. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก https://thanetsupong.wordpress.com/

พูลพงษ์ พงษ์วิทยภานุ. (2561). Innovative Thinking Skills. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก https://pulpong. files.wordpress.com/2014/08/2557-4-innovativethinking-ho.pdf

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

วสันต์ สุทธาวาศ และ ประสพชัย พสุนนท์ (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมระดับบุคคลในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(1),530-545.

ศศิมา สุขสว่าง. (2562). การพัฒนานวัตกรรมโดยใช้ Design Thinking. ค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2564, จาก https://hcd-innovation.teachable.com/courses/author/290247

ศุภลักษณ์ คูหาทอง. (2561). Thinking Skill. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2564, จาก https://www.gotoknow.org./ posts/141839

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2553).รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการจัดการความรู้ของผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมในประเทศไทย.ค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2564, จาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/ 123456789/18604

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. เล่มที่ 38. เรื่องที่ 3 การอุดมศึกษา. บทบาทหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษา.

ค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2564, จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php? book=38 &chap=3&page=t38-3-infodetail09.html

สุคนธ์ทิพย์ มงคลเจริญ. (2555). อิทธิพลของรูปแบบความคิดสร้างสรรค์การรับรู้ความสามารถของตนเอง และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมของพนักงานในงานธุรกิจสื่อไดเร็คทอรี่แห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุดารัตน์ เหลาฉลาด. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจภายใน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย สภาพแวดล้อมในงาน กับพฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

De Jong, Jeroen and et al. (2003). Leadership as a Determinant of Innovative Behavior: A Conceptual Framework. Research Report H200303. Scientific Analyses of Entrepreneurship and SMEs.

Drucker, P.F. (1991). The Disclipline of Innovation. Innovation: Harvard Business Review Paperback. MA: Harvard Business School Publishing Division.

Gibbons, A. (1997). Innovation and the Developing of Knowledge Production. University of Sussex.

Horth, D. and Buchner, D. (2014). In Innovation Leadership: How to Use Innovation to Lead Effectively, Work Collaboratively, and Drive Results. San Diego: The Center for Creative Leadership.

Kanter, R.M. (1988). Changes-Master Companies: Environments in which Innovations Florish. In R.L. Kuhn (Ed.), Handbook for Creative and Innovative Managers. McGraw-Hill.

Luis E.V. (2012). Higher Education and the Development of Competencies for Innovation in the Workplace. Management Decision,50 (9), 1634-1648

Hernan, R. (2000). How to Develop More Creative Strategic Plans: Results from an Empirical Study. Creativity and Innovation Management, 9(1), 14–20.

Scott, S. G. and Bruce, R. A. (1994). Determinants of Innovative Behavior: A Path Model of Individual Innovation in the Workplace. Academy of Management Journal, 37(3), 580-607.

Smith, J. E. P. and Shalley, C. E. (2003). The Social Side of Creativity: A Static and Dynamic Social Network Perspective. Academy of Management Review, 28(1), 89–106.

Weiss, D.S. and Legrand, C. (2011). Innovative intelligence: the art and practice of leading sustainable innovation in your organization. Mississauga. Ont.: J. Wiley & Sons Canada.

West, M. A. and Farr, J. L. (1989). Innovation at Work. In M.A. West & J.L.Farr (Eds.), Innovation and Creativity at Work: Psychological and Organizational Strategies. Chischester, UK: Wiley. 3-13.

Yamane, T. (1973). Statistics, An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Zhou, J. and George, J. M. (2001). When Job Dissatisfaction Leads to Creativity: Encouraging the Expression of Voice. Academy of Management Journal, 44(1), 682–696.